มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันว่าสัตว์อย่างกิ้งก่า จะมีการออกลูกเป็นไข่ โดยพวกมันได้มีการวิวัฒนาการไข่ของตนให้มีเปลือกคล้ายกับสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิด เพื่อปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัยจากอันตรายและเชื้อโรคของโลกภายนอก
ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่สร้างความแปลกใจให้แก่เหล่านักวิทยาศาสตร์มาก เมื่อพวกเขาได้ทำการค้นพบหนอนปรสิต ซึ่งสามารถหาทางเข้าไปอยู่ในตัวอ่อนกิ้งก่าได้ ทั้งๆ ที่มันยังไม่ฟักออกมาจากไข่ด้วยซ้ำ
อ้างอิงจากงานวิจัยที่มีกำหนดการจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The American Naturalist ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2020 ดูเหมือนว่าหนอนปรสิตตัวใหม่นี้ จะสามารถเข้าไปในตัวของลูกกิ้งก่าได้ ตั้งแต่ในตอนที่ไข่ของมันยังไม่ออกจากท้องแม้ด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก
นั่นเพราะตามปกติสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่นั้นจะถูกมองว่ามีการออกลูกที่ปล่อยภัยต่อตัวอ่อนมากมาตลอด และนี่ก็นับว่าเป็นครั้งแรกของนักวิทยาศาสตร์เลย ที่พวกเขาพบกับปรสิตที่มีความสามารถในการติดต่อจากแม่สู่ลูกในสัตว์ที่ออกลูกด้วยวิธีนี้
“ฉันตกใจเอามากๆ เมื่อเห็นสิ่งเคลื่อนไหวในสมองของตัวอ่อนเช่นนี้ แม้ว่าฉันจะเคยผ่าไข่กิ้งก่ามาหลายต่อหลายตัวแล้วก็ตาม” คุณ Nathalie Feiner นักชีววิทยาวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยลุนด์ในสวีเดนกล่าว
วิดีโอแสดงการเคลื่อนไหวของปรสิตในศีรษะของตัวอ่อนกิ้งก่า
เธออธิบายว่าการค้นพบนี้ทำให้พวกเธอสงสัยมากว่าปรสิตเหล่านี้เข้ามาอยู่ในตัวอ่อนได้อย่างไร ดังนั้นพวกเธอจึงตัดสินใจตรวจสอบกิ้งก่าตัวแม่อย่างละเอียด และพบว่าในรังไข่ของมันมี “นีมาโทดา” หรือพยาธิหนอนตัวกลมอาศัยอยู่
พวกมันถูกตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นพยาธิสายพันธุ์ใหม่ซึ่งมีการปรับตัวให้สามารถอาศัยในระบบสืบพันธุ์ของกิ้งก่าได้ แทนที่จะเป็นตามลำไส้และระบบย่อยอาหารเหมือนกับพยาธิสายพันธุ์อื่นๆ และสามารถเข้าไปในตัวอ่อนกิ้งก่าได้ ตั้งแต่ในตอนที่เปลือกรอบๆ ตัวมันยังไม่แข็งด้วยซ้ำ
กิ้งก่าสายพันธุ์ “Podarcis muralis” ซึ่งถูกค้นพบพยาธิในครั้งนี้
เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทดลองปล่อยให้ตัวอ่อนกิ้งก่าจำนวนหนึ่งโตขึ้น พวกเขายังพบอีกว่า แม้จะมีพยาธิอยู่แต่ตัวอ่อนกิ้งก่าเหล่านี้กลับสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ แถมพวกมันยังฟักตัวออกมาทั้งๆ ที่มีพยาธิอยู่ในกะโหลกทั้งอย่างนั้นเลยด้วย
ที่สำคัญคือแม้ว่า กิ้งก่าที่เกิดมาจากมี พยาธิอยู่ในสมองก็ตามแต่พวกมันก็ดูจะมีสุขภาพดีเสียด้วย ดังนั้นมันจึงนับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก ที่ในงานวิจัยครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์จะไม่ได้มีการสังเกตการณ์พฤติกรรมของกิ้งก่าที่เกิดมา ว่ามีความแตกต่างจากกิ้งก่าทั่วไปหรือไม่แต่อย่างไร
“มันคงจะน่าตื่นเต้นน่าดูที่เราจะได้ทราบว่าการถ่ายทอดพยาธิระหว่างแม่กับตัวอ่อนเช่นนี้ เป็นลักษณะของพยาธิที่เราพบเฉพาะเวลามันอาศัยในกิ้งก่าหรือว่ามันจะเกิดขึ้นกับสัตว์สายพันธุ์อื่นด้วย” คุณ Nathalie กล่าวเพิ่มเติม
“และมันก็คงจะน่าสนใจมากเช่นกันหากเราได้ทราบว่าพฤติกรรมของกิ้งก่าที่เกิดมา เปลี่ยนไปจากผลกระทบของการมีพยาธิในสมองหรือไม่”
ที่มา livescience, sciencenews และ uchicago
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น