ห่างออกไปจากโลกราวๆ 2,040 ปีแสง นักดาราศาสตร์ได้ทำการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่ง กำลังหมุนรอบดาวแคระขาว อันเป็นสิ่งที่หลงเหลืออยู่จากการที่ดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ สิ้นสุดอายุขัย
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ว่านี้ มีขนาดใกล้เคียงกับดาวเสาร์ของระบบสุริยะ โดยมันโคจรอยู่รอบดาวแคระขาวที่ชื่อว่า WDJ0914+1914 ทั้งๆ ที่ตัวมันเอง มีขนาดใหญ่กว่าดาวแคระขาวถึง 4 เท่าได้
ดาวดาวเคราะห์ดวงที่ว่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะมองเห็นได้โดยตรง แต่ด้วย การใช้งานกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ของหอดูดาวยุโรปใต้ในประเทศชิลี เราก็จะสามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงของดาวแคระขาว WDJ0914+1914 และดาวเคราะห์ที่ยังคงโคจรรอบมันได้
อ้างอิงจากในรายงานการค้นพบ รอบๆ พื้นที่ของดาวแคระขาว WDJ0914+1914 ยังมีวงแหวนก๊าซ ที่เกิดจากก๊าซไฮโดรเจน ออกซิเจน และซัลเฟอร์หมุนวนอยู่รอบๆ ในขณะที่ตัวดาวเองยังคงมีการปล่อยรังสีและความร้อนมหาศาล (สูงกว่าดวงอาทิตย์ 5 เท่า) ออกมาอยู่เรื่อยๆ
รังสีและความร้อนที่ว่านี้เอง ได้ค่อยๆ ระเหย ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบมัน และไม่เหลือชั้นบรรยากาศแล้วไปอย่างช้าๆ ซึ่งทำให้ตัวดาวเคราะห์ค่อยๆ เสียส่วนประกอบไปในอัตรา 260 ล้านตันต่อวัน
สำหรับเหล่าผู้เชี่ยวชาญแล้ว นี่ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีชิ้นแรก ของชะตากรรมระบบสุริยะของเราอาจจะต้องพบในอนาคตเลยก็ว่าได้
เพราะเช่นเดียวกับดาว WDJ0914+1914 อนาคตข้างหน้าดวงอาทิตย์ของเราเองก็มีโชคชะตาจะต้องกลายเป็นดาวแคระขาวเช่นกัน
และเมื่อเวลานั้นมาถึง ไม่แน่เหมือนกันว่าดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งในระบบสุริยะของเราก็อาจจะ ต้องกลายเป็นดาวเคราะห์ที่หมุนรอบดาวแคระขาว และค่อยๆ ระเหยไปช้าๆ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์นอกระบบที่เราพบก็เป็นได้
ที่มา livescience, astronomy, cnet
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น