เคยได้ยินเรื่องราวของเหตุการณ์ที่ชื่อว่า “ปรากสปริง” กันไหม? นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคมปี 1968 และเกิดขึ้นในประเทศเชโกสโลวาเกีย
โดยในเวลานั้นประเทศเชโกสโลวาเกียนำโดย อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค ได้พยายามที่จะทำการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้ประเทศมีการเพิ่มสิทธิแก่ประชาชน และเปิดเสรีทางการเมืองในประเทศ
แน่นอนว่าการกระทำเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทางสหภาพโซเวียตเป็นอย่างมาก ทำให้โซเวียตและสมาชิกของสนธิสัญญาวอร์ซอเข้าทำการรุกรานเชโกสโลวาเกีย เพื่อหยุดการปฏิรูปในครั้งนี้ ด้วยกำลังทหารกว่า 500,000 นาย
และนี่คือภาพถ่ายส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ในวันนั้น
เริ่มกันจากภาพของชาวปรากที่ออกมาล้อมรถถังโซเวียตหน้าอาคารวิทยุเชโกสโลวาเกีย 21 สิงหาคม 1968
ภาพของรถถังในทรุตนอฟ เชโกสโลวาเกีย สิงหาคม 1968
ชาวปรากถือธงเชโกสโลวาเกียและขว้างระเบิดขวดใส่รถถังโซเวียตในตัวเมืองปราก
สิ่งกีดขวางที่ทำจากรถบรรทุกและรถโดยสารถูกเผาหน้าอาคารวิทยุเชโกสโลวาเกีย วันที่ 21 สิงหาคม 1968
รถถังกองทัพโซเวียตเคลื่อนผ่านสิ่งกีดขวางที่ทำจากรถบรรทุกหน้าอาคารวิทยุ
ทหารกองทัพโซเวียตนั่งบนรถถังหน้าอาคารวิทยุเชโกสโลวาเกียในใจกลางกรุงปราก
ผู้ประท้วงนับพันที่เวนเซสลาส ระหว่างการประท้วงในเดือนสิงหาคม 1968
เหล่าประชาชนที่มีใบหน้าบูดบึ้ง ชุมนุมกันโดยมีรถถังโซเวียตและรถที่ลุกเป็นไฟเป็นฉากหลัง
มีคนขับรถโดยสารพยายามช่วยเหยื่อรายแรกๆ ของการรุกรานจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 1968
สมาชิกของกองทัพเชโกสโลวาเกียถูกคนในท้องถิ่นเยาะเย้ยหลังเมืองโดนโซเวียตยึด
ผู้ประท้วงหลายพันคนนั่งประท้วงที่จัตุรัสเวนเซสลาส
การเดินขบวนของเหล่าชายหนุ่มชาวเช็กพร้อมป้ายไม่เอาสหภาพโซเวียต
รถบรรทุกของกองทัพพาชาวเชโกสโลวาเกียหนุ่มสาวออกแล่นรอบเมือง หลังรถถังโซเวียตหยุดอยู่ที่ชานเมือง และเริ่มล้อมค่ายทหารของกองทัพเช็ก
ชาวเช็กส่งเสียงโห่ด่ารถถังโซเวียตในใจกลางเมืองปราก
ชาวปรากขึ้นขี่รถถังโซเวียตพร้อมชูป้าย ห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้า
วิวของเมืองหลวงแห่งเชโกสโลวาเกีย ในยามที่การปะทะกันระหว่างทหารและประชาชนเกิดขึ้น
เงาของใครบางคนามองรถถังโซเวียตบุกผ่านถนนในปราก
รถถังโซเวียตที่ตกลงน้ำจากสะพานซึ่งมีรายงานว่าถูกวางระเบิด
เด็กสาวชาวเช็ก ตะคอกใส่ทหารโซเวียตบนรถถังที่ถนนของปราก
และชาวเมืองที่โกรธแค้นล้อมรอบรถถังโซเวียตและปีนขึ้นป้อมปืนเพื่อเยาะเย้ยทหารภายใน
ในท้ายที่สุดแล้วแม้ว่าเชโกสโลวาเกียจะต้องพ่ายแพ้ให้กับฝั่งโซเวียตในวันนั้น แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็เปลี่ยนแนวคิดของผู้คนหลายๆ กลุ่มในยุโรปตะวันออกได้เป็นอย่างดี และเชื่อกันว่ามีส่วนสำคัญที่นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในเวลาต่อมา
ที่มา theatlantic
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น