มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันเป็นอย่างดีว่าพลาสติกนั้น ไม่เพียงแต่เป็นขยะที่มีอยู่ทุกที่เท่านั้น แต่มันยังย่อยสลายได้ยากมากๆ อีกด้วย ซึ่งทำให้มันกลายเป็นหนึ่งในขยะที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโลกมากที่สุดอันหนึ่งเลย
ดังนั้นนี่จึงอาจจะถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับหลายๆ คนเลยก็ได้ เมื่อล่าสุดนี้เอง ภายในวารสาร “Frontiers” ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่นำโดยศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเฮล์มโฮลทซ์ในเยอรมนี ได้ออกมาบอกว่า
พวกเขาได้ค้นพบจุลินทรีย์ตัวใหม่ที่อาจจะมีความสามารถในการย่อยพลาสติกที่ได้ชื่อว่าคงทนย่อยสลายยากที่สุดในปัจจุบันได้แล้ว
เจ้าจุลินทรีย์ตัวใหม่ที่กล่าวมานี้ เป็นแบคทีเรียสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า “Pseudomonas sp. TDA1” โดยมันเป็นแบคทีเรียที่ถูกค้นพบในดินข้างใต้ที่ทิ้งขยะที่มีพลาสติกจำนวนมาก และมาจากสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการรับมือกับสารพิษมาเป็นเวลานานแล้ว
อ้างอิงจากทีมวิจัย เจ้าแบคทีเรียตัวนี้มีความสามารถในการแยกสารที่ประกอบเป็นพลาสติกอย่าง คาร์บอน ไนโตรเจน และพลังงานต่างๆ ออกมาใช้เป็นสสารเดียวได้ ดังนั้นพวกมันจึงมีความสามารถที่จะย่อยพลาสติกแบบ โพลียูรีเทน (PU) ซึ่งปกติใช้งานในอุปกรณ์พลาสติกแทบทุกชนิด และมีชื่อเสียงเรื่องความย่อยสลายลำบากมากๆ ได้
“การค้นพบนี้นับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการหาทางรีไซเคิลพลาสติกที่รีไซเคิลได้ยากอย่าง PU เลย” Hermann Heipieper นักจุลชีววิทยา จากศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเฮล์มโฮลทซ์กล่าว
แต่แม้ว่าเราจะพบแบคทีเรียสายพันธุ์ที่น่าสนใจขนาดนี้ก็ตาม มันก็ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถนำเจ้าแบคทีเรียตัวนี้ มาใช้กำจัดพลาสติกแบบทันทีทันใดเลยเช่นกัน
เพราะในปัจจุบันเรายังคงที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางชีวเคมีที่อยู่เบื้องหลังแบคทีเรียตัวนี้อีกมากเลยทีเดียว กว่าที่เราจะสามารถนำเจ้า Pseudomonas sp. TDA1 มาใช้งานได้จริงๆ
ถึงอย่างนั้นก็ตามนักวิทยาศาสตร์ก็ค่อนข้างที่จะมั่นใจเลยว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับแบคทีเรียตัวนี้นั้น มันจะต้องไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน
ที่มา gizmodo, sciencealert, indiatimes และ frontiersin
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น