ในพื้นที่ห่างออกไปจากโลก และลึกเข้าไปในอวกาศที่กว้างใหญ่ไพศาล กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของทางนาซาได้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์สุดแปลกเมื่อวัตถุในอวกาศที่มีแสงสว่างมหาศาลเกิดการไหลทะลักผ่านกาแล็กซี ราวกับคลื่นสึนามิที่ไหลเข้าท่วมชายฝั่งไม่มีผิด
เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้รับชื่อจากทางนาซาว่า “Quasar Tsunamis” โดยมันเป็นเหตุการณ์ การไหลทะลักของแหล่งกำเนิดของคลื่นวิทยุคล้ายกับดวงดาวที่เราเรียกกันว่า “เควซาร์” อีกที และถูกอธิบายโดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญไว้ว่า
“เป็นกลุ่มกระแสพลังที่มีพลังมากที่สุดที่เราเคยพบเห็นมาในจักรวาล” จากการที่มันเป็นการไหลทะลักของเควซาร์ ที่มีพลังงานมากที่สุดเท่าที่พวกเขาเคยพบมาเลย
ทีมนักดาราศาสตร์บอกว่า ตามปกติแล้วเควซาร์นั้น จะเกิดจากการที่หลุมดำปลดปล่อยพลังงานที่มันดูดเข้าไปออกมาในรูปแบบแสงสว่าง โดยต่อให้เป็นเควซาร์ที่มีบริมาณมวลไม่มาก เจ้าวัตถุกลางอวกาศชิ้นนี้ ก็อาจสามารถส่องสว่างได้มากกว่าดาวฤกษ์ทั่วๆ ไป ถึง 1,000 เท่า
ดังนั้น ในกรณีของเควซาร์ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นพบในครั้งนี้ พวกมันจึงถือว่ามีพลังงานในปริมาณที่มากมายมหาศาลมาก มากเสียยิ่งกว่าปริมาณแสงที่กาแล็กซีทางช้างเผือกของเราทั้งกาแล็กซีปล่อยออกมาเกือบ 100 เท่า
ซึ่งพลังงานเหล่านี้ เมื่อถูกนำไปบวกกับการที่มันถูกปล่อยออกมาจากหลุมดำที่ในกลางกาแล็กซีที่ห่างไกลแบบพอดิบพอดี ก็ทำให้ Quasar Tsunamis เหล่านี้ทะลักผ่านดวงดาวนับพันล้านดวงที่อยู่ในกาแล็กซีใกล้ๆ ตัวหลุมดำ และย้อมมันจนเราเห็นได้เพียงแสงสว่างได้เลย
อ้างอิงจากรายงานที่ออกมาการค้นพบในครั้งนี้ ทำให้นักดาราศาสตร์มีโอกาสศึกษาการไหลออกจากหลุมดำของเควซาร์ถึง 13 ครั้ง ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถคำนวณ ทั้งปริมาณพลังงานที่ถูกปล่อยออกมา และความเร็วของก๊าซที่ถูกเร่งโดยลมควาซาร์ได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลยด้วย
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซึ่งมีส่วนช่วยในการค้นพบเควซาร์ในครั้งนี้
“นอกจากการวัดพลังงานของควาซาร์ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยพบมาแล้ว พวกเรายังพบด้วยว่า ความเร็วของการไหลของพลังงานในบางจุดนั้น สูงกว่าจุดอื่นมาก” ทีมนักวิจัยระบุในรายงาน
“มันสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นจากเกือบ 70 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ไปเป็นประมาณ 75 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมงในระยะเวลาเพียงสามปี แถมนักวิทยาศาสตร์ก็ยังเชื่อว่าการเร่งความเร็วนี้ ยังจะสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปด้วย”
และก็แน่นอนว่าการศึกษาการไหลของควาซาร์เหล่านี้ ก็อาจจะนำมาซึ่งความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับอวกาศที่เราไม่เคยทราบมาก่อนอีกมากมายเลย
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น