พูดถึงหนูแล้ว สัตว์ขนาดเล็กหน้าขนพวกนี้มักจะถูกตีตราเป็นสัตว์สกปรก น่าเกลียดน่าชัง ไม่น่าพิสมัย แถมอาจจะแว้งมาทำร้ายคนที่ผ่านไปมาอีก
แต่ในอีกฐานะหนึ่งพวกมันก็เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ต้องมาเสี่ยงชีวิตเพื่อเป็นตัวศึกษาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จึงเกิดเป็นศัพท์ ‘หนูทดลอง’ ขึ้นมา
แต่ในคราวนี้พวกมันก็ต้องมาทดลองกันอีกครั้ง ไม่ใช่ในเชิงของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย แต่เป็นในรูปแบบการศึกษาพฤติกรรมของพวกมันต่างหาก
ในปี 2011 ทีมนักวิทยาศาสตร์พยายามทดลองหาข้อพิสูจน์เกี่ยวกับหนู ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจว่าพวกมันจะมีน้ำใจช่วยเหลือพวกพ้องด้วยกันรึเปล่า?
ผลของการทดสอบนั้นเกินคาดมากๆ เพราะเจ้าหนูส่วนใหญ่มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมสายพันธุ์มากๆ หากพบว่าเพื่อนกำลังตกที่นั่งลำบาก อยู่ในพื้นที่อันตราย มันก็จะพยายามหาวิธีช่วยเพื่อนให้ได้ แม้จะไม่มีรางวัลอะไรตอบแทนเลยก็ตาม
หากมีให้เลือกระหว่างรางวัลล่อตาล่อใจกับช่วยเหลือเพื่อน เจ้าหนูก็มักจะเลือกช่วยเพื่อนก่อนแล้วค่อยตรงไปหารางวัลแล้วก็แบ่งกันกิน
อีกกรณีแม้บางตัวจะไม่รู้จักกัน
แต่ก็ยังเลือกที่จะช่วยเพื่อนร่วมสายพันธุ์ที่ลำบาก
จากการศึกษาเช่นนี้พบว่าเงื่อนไขสำคัญที่นอกเหนือจากความสงสารแล้ว หากหนูเคยทำความรู้จักกันมาก่อนมันก็เลือกที่จะช่วยเพื่อนอย่างไม่ลังเล
กล่าวในอีกแง่หนึ่งก็คือ การเข้าสังคมของพวกมันก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น พวกมันแคร์เพื่อนมากกว่าของกิน แม้จะเป็นหนูต่างสายพันธุ์ก็ตามที
ที่มา: UChicago Medicine, sciencemag, boredpanda
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น