เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2019 ที่เมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา มีการประชุมระหว่างประเทศของสมาคมผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (AAIC) และได้เปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ในสหรัฐอเมริกา
งานวิจัยพบว่า ผู้หญิงป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ชายด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะปัจจัยทางครอบครัว และปัจจัยทางสังคม เช่น ผู้หญิงต้องแต่งงานและเลี้ยงลูก อาจมีบทบาททำให้เสี่ยงสมองเสื่อมไวกว่าปกติ
Elizabeth Rose Mayeda ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ได้ศึกษาผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 6,386 คน ที่เกิดระหว่างปี 1935 ถึง 1956
ผลการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีงานทำตั้งแต่วัยผู้ใหญ่จนถึงวัยกลางคน ไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มีลูกก็ตาม จะมีความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อมช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น
ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่ไม่ได้ทำงานก็เสี่ยงเกิดความจำเสื่อมไวขึ้นเช่นกัน จากการทดลองพบว่าผู้หญิงอายุ 60 – 70 ปีที่แต่งงาน มีลูก และไม่ได้ทำงาน มีประสิทธิภาพด้านความจำลดลงเร็วขึ้น 61%
และผู้หญิงอายุ 60 – 70 ปี ที่เป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวมานาน และไม่เคยทำงาน มีประสิทธิภาพด้านความจำลดลงเร็วขึ้นถึง 83% เลยทีเดียว
กล่าวคือการมีส่วนร่วมในการทำงานนั้นมีความสัมพันธ์กับการกระตุ้นการเรียนรู้ และป้องกันโรคสมองเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น
Elizabeth เชื่อว่าในอนาคต การสร้างนโยบายดีๆ ที่สนับสนุนผู้หญิงเรื่องการจ้างงาน อาจจะเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้หญิงได้นั่นเอง
เรียบเรียงโดย #เหมียวเมษา
ที่มา: https://ph.ucla.edu/news/press-release/2019/jun/work-family-demands-and-late-life-memory-decline-women
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น