CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์รัสเซีย เตรียมสกัดไวรัสโบราณจากซากสัตว์ 50,000 ปี ศึกษาการวิวัฒนาการไวรัส

นับว่ากำลังเป็นอีกข่าวที่ถูกพูดถึงและกำลังเป็นที่สนใจของหลายๆ คนไปแล้ว เมื่อในช่วงกลางเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้ออกมาเปิดเผยว่า

พวกเขานั้นกำลังเตรียมการสกัดไวรัสก่อนประวัติศาสตร์ออกมาจากซากสัตว์ในชั้นดินเยือกแข็งหรือเพอมาฟอสอยู่ โดยมีเป้าหมายที่จะศึกษาลำดับการวิวัฒนาการของไวรัสดังกล่าวอีกที

 

 

การวิจัยในครั้งนี้ถูกระบุว่าถูกจัดทำขึ้น ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัย VECTOR และมหาวิทยาลัย North-Eastern Federal ในเมืองยาคุตสค์ ของไซบีเรีย

โดยในเบื้องต้นทางทีมงานได้วางแผนจะเก็บไวรัสจากสัตว์หลายชนิด รวมไปถึงสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่างแมมมอธและแรดมีขน และสัตว์ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ในตระกูลม้า กวาง สัตว์ฟันแทะ และกระต่าย

 

 

 

ซึ่งในบรรดาสัตว์ที่กล่าวมานี้ตัวที่เก่าแก่ที่สุดนั้นได้แก่ตัวเลมมิ่ง สัตว์ฟันแทะเก่าแก่ที่อาจจะมีอายุได้มากถึง 50,000 ปีเลย

“นี่จะถือว่าเป็นครั้งแรกเลยที่เรามีโอกาสทำการศึกษาเกี่ยวกับ ‘Paleoviruses’ (ไวรัสดึกดำบรรพ์)” คุณ Maxim Cheprasov หัวหน้าห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์แมมมอธระบุ

 

 

แน่นอนว่าเมื่อข่าวออกมาเช่นนี้มันก็ย่อมทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันไม่น้อยว่าการสกัดไวรัสโบราณในครั้งนี้อาจจะนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคร้ายครั้งใหม่ได้

แต่อย่างไรก็ตามทางทีมวิจัยก็ดูจะค่อนข้างมั่นใจเลยว่าห้องปฏิบัติการ VECTOR ซึ่งเคยเป็นที่พัฒนาอาวุธชีวภาพในสมัยโซเวียต และเป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการเพียงสองแห่งในโลกที่เก็บไวรัสไข้ทรพิษไว้จะมีการป้องกันที่เพียงพอ

 

 

และที่สำคัญทางศูนย์วิจัย VECTOR เองก็ยังเป็นผู้นำการพัฒนาหาวิธีรักษาโรคมีชื่อหลายโรคเช่น กาฬโรค HIV SARS แถมยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง วัคซีนต้านไวรัส Covid-19 ที่มีชื่อว่า EpiVacCorona ด้วย

ดังนั้นการสกัดไวรัสก่อนประวัติศาสตร์มาศึกษาในครั้งนี้ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีประโยชน์มากกว่าผลเสียในการต่อสู้กับโรคระบาดต่อไปในอนาคตเลย

 

ที่มา sciencealert, phys และ dailymail


Posted

in

,

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น