CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

เปิดเทคโนโลยีใหม่ นักวิทย์พบ “วิธีตรวจจับ DNA ในอากาศ” ปลดล็อกข้อจำกัดอาชญาวิทยา

หลายครั้งที่เทคโนโลยีคือกุญแจไขความลับเกี่ยวกับคดีที่ไม่สามารถปิดได้ในอดีต และนี่อาจเป็นอีกครั้งที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบก้าวสำคัญแห่งการปฏิวัติวงการอาชญาวิทยา

นักวิจัยจาก Queen Mary University of London ได้เปิดเผยการค้นพบวิธีตรวจจับ DNA ที่ลอยอยู่ในอากาศได้เป็นครั้งแรก ซึ่งเทคนิคใหม่นี้สามารถนำไปต่อยอดได้ทั้งการทำความเข้าใจในการแพร่กระจายของโรค หรือแม้กระทั่งการระบุตัวอาชญากร

 

 

จากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร PeerJ ได้ระบุว่า ทีมวิจัยได้นำตัวตุ่นทดลองเข้าไปในห้องเก็บตัวอย่าง AirDNA ก่อนจะเปิดระบบปฏิบัติการ Environmental DNA (eDNA) เพื่อให้เก็บข้อมูล

eDNA คือ DNA ของสิ่งมีชีวิตที่กระจายตัวอยู่โดยรอบ สามารถตรวจจับได้ทั้งในดิน น้ำ และหิมะ ซึ่งในปัจจุบัน eDNA ส่วนใหญ่มักถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งน้ำ

 

 

จากการทดลองในครั้งนี้ ระบบปฏิบัติการสามารถตรวจจับ DNA ของตัวตุ่นได้อย่างแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังพบ DNA ของผู้ดูแลตัวตุ่น แม้ว่าพวกเขาจะใช้เวลาด้วยกันในระยะหนึ่งเท่านั้นก็ตาม

ขณะนี้ ทีมวิจัยร่วมกับพาร์ทเนอร์ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงบริษัท NatureMetrics เพื่อต่อยอดว่าเทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างไรบ้าง?

 

 

Dr Elizabeth Clare เจ้าหน้าที่อาวุโสของ Queen Mary University of London ได้เผยว่า

“การพบว่าเราสามารถเก็บ eDNA ของสัตว์ได้จากอากาศ เป็นการเปิดโอกาสให้เราสามารถเรียนรู้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้โดยแม้ในสภาพที่ยากต่อการเข้าถึง เช่นโพรง หรือถ้ำ”

“ข้อมูลที่สำคัญนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่นนิติวิทยาศาสตร์มานุษยวิทยาและแม้แต่การแพทย์ เราอาจเข้าใจการแพร่กระจายของโรคทางอากาศเช่น COVID-19 ได้ดีขึ้น”

 

 

ในแง่ของนิติวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่สามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ตรวจสอบว่าคนร้ายอยู่ในที่เกิดเหตุหรือไม่ โดยการวิเคราะห์อากาศโดยรอบ และมันจะแสดงอัตลักษณ์ของผู้ต้องสงสัยออกมา

หรือแม้แต่ในทางโบราณคดี ยังคาดกันว่าสามารถใช้เทคนิคนี้ในการตรวจสอบอากาศรอบหลุมฝังศพของมัมมี่เพื่อระบุสารพันธุกรรมต่างๆ ของฟาโรห์ในอดีตด้วยก็เป็นได้

 

 

เรียกได้ว่าจากการทดลองที่ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ อาจนำไปสู่การไขความลับและการต่อยอดเพื่อแขนงความรู้อื่นๆ ได้อีกมากมายในอนาคต

 

ที่มา:

sciencetimes

news.sky

sciencefocus

Comments

ใส่ความเห็น