CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ชม “Shoe Fitting Fluoroscope” เครื่องเอกซเรย์เพื่อหารองเท้าที่เหมาะสม แห่งยุค 1920-50

การเลือกรองเท้าให้เข้ากับรูปแบบเท้าของเราแบบพอดีนั้น แม้จะฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่หากมองกันให้ลึกๆ แล้วก็เป็นอะไรที่ยากกว่าที่คิด เพราะนอกจากเรื่องไซต์ของรองเท้าแต่ละคู่แล้ว บางคนเองยังต้องพบกับปัญหาของรูปแบบเท้าที่ไม่เข้ากับรองเท้าอีก

ปัญหาที่ว่านี้เรียกได้ว่าเป็นอะไรที่มีมานานมากกว่าที่คิด ดังนั้นแล้วในช่วงยุค 1920-50 ร้านขายรองเท้าหลายๆ แห่งในอเมริกาและยุโรป จึงได้ตัดสินใจแก้ปัญหาการเลิกรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับตัวเอง ด้วยการเอาเครื่องเอกซเรย์เท้า มาตั้งไว้ในร้านเสียเลย

 

 

เจ้าเครื่องเอกซเรย์เท้าที่ว่านี้มีชื่อเรียกกันว่า “Shoe Fitting Fluoroscope” โดยมันมีลักษณะการทำงานคล้ายๆ เครื่องเอกซเรย์ตามสนามบินทั่วๆ ไป แต่ออกแบบมาเพื่อให้คุณสามารถมองดูเท้าและรูปแบบกระดูกของตัวเองในระหว่างการใส่รองเท้าได้ และแน่นอนว่านำมาซึ่งการเลือกซื้อรองเท้าที่ใส่สบายมากขึ้นตามไปด้วย

Shoe Fitting Fluoroscope ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยแพทย์ชื่อ Jacob Lowe เพื่อที่จะใช้ในการตรวจสอบเท้าของทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้พวกเขาถอดรองเท้า ก่อนที่มันจะถูกดัดแปลงหลังจากสงครามจบเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ และโด่งดังมากๆ ตั้งแต่ช่วงปี 1920 เป็นต้นมา

 

 

เครื่องเอกซเรย์ชิ้นนี้ ออกแบบมาให้ลูกค้าเอาเท้าเข้าไปวางในเครื่องและสามารถมองดูเท้าตัวเองได้ผ่านกล้องที่อยู่ด้านบน และมักจะถูกใช้งานไปพร้อมๆ กับอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักอื่นๆ ที่จะสามารถบอกว่าเมื่อใส่รองเท้าคุณจะมีการถ่ายน้ำหนักตัวแบบไหนลงบนฝ่าเท้า

นี้อาจจะฟังดุเป็นอุปกรณ์ที่สะดวกสำหรับการที่จะทำให้ผู้คนเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่เครื่องมือชิ้นนี้เอง ก็มีปัญหาใหญ่ในตัวอยู่เช่นกัน และเป็นเหตุผลสำหรับที่ทำให้เครื่องมือชิ้นนี้ถูกเก็บไปจากตลาดเลยด้วย

 

 

นั่นเพราะในช่วงปี 1946 ราวๆ หนึ่งปีหลังจากการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ข่าวเรื่องความน่ากลัวในระยะยาวของสารกัมมันตรังสีได้เริ่มที่จะแพร่กระจายไปในสังคม ดังนั้นเครื่องมือที่มีการใช้รังสีอย่าง Shoe Fitting Fluoroscope จึงเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ดูอันตรายไป

นั่นทำให้ทางรัฐบาลออกกฎหมายมาให้ร้านรองเท้าใดก็ตามที่มีการใช้งานเครื่องเอกซเรย์ชิ้นนี้ จะต้องมีการติดป้ายระวังกัมมันตรังสีไป

แถมในอีกสองมีต่อมางานวิจัยในประเทศก็ยังพบอีกว่าเครื่องเอกซเรย์เท้านั้น มีการแพร่รังสีมากจนเกินไป โดยในการใช้งานเครื่องนี้ 20 วินาที มนุษย์จะได้รับรังสีไปราวๆ ครึ่งหนึ่งของการทำซีทีสแกนหน้าอก และสามารถเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณหากเครื่องไม่มีการดูแลรักษาที่ดี

 

 

เท่านั้นยังไม่พอเมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการสำรวจเครื่อง Shoe Fitting Fluoroscope ทั่วสหรัฐอเมริกาจริงๆ พวกเขาก็ยังพบอีกว่ากว่า 75% ของเครื่องเอกซเรย์เหล่านี้ ล้วนแต่ปล่อยรังสีออกมาในระดับที่ “ไม่ปลอดภัย” ทั้งนั้น

ด้วยเหตุนี้เอง เครื่องมือชิ้นนี้จึงค่อยๆ เสื่อมความนิยมไปและค่อยๆ ถูกนำออกจากร้านรองเท้าไปทีละนิด จนกระทั่งราวๆ ยุค 80 เครื่องเอกซเรย์ชื่อ Shoe Fitting Fluoroscope ก็สูญหายไปจากร้านรองเท้าแบบสมบูรณ์ในที่สุด

 

ที่มา amusingplanet


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น