สำหรับคนผิวสีในประเทศแอฟริกาใต้แล้ว ช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1948-1990 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาถูกแบ่งแยกและเหยียดชนชาติมากที่สุดช่วงหนึ่งเลยก็ว่าได้
เพราะแม้ว่าประเทศนี้จะเต็มไปด้วยคนผิวสีก็ตาม แต่ไม่ว่าพวกเขาจะเดินไปที่ไหน คนผิวสีก็ต้องพบกับการถือผิวหรือ “Apartheid” สิ่งที่บ่งบอกว่าพวกเขานั้น “อยู่ใต้” การปกครองของคนขาวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตัวของชาวยุโรป กฎหมาย หรือแม้กระทั่งวัตถุต่างๆ ที่ถูกแบ่งแยกการใช้งานเพียงแค่สีผิวเท่านั้น
และในบรรดาสิ่งของเหล่านั้นเอง สิ่งที่คนผิวสีพบได้มากที่สุด ก็คงไม่พ้น “แผ่นป้าย” ตั้งตามที่ต่างๆ ทั่วเมือง เพราะนับว่าเป็นสัญลักษณ์การถือผิวที่ชาวผิวสีต้องทนมองกันอย่างยาวนานมากว่า 4 ทศวรรษเลยนั่นเอง
เริ่มกันจากป้ายระวังคนท้องถิ่น ป้ายที่พบได้บ่อยๆ ในโจฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 1956
ผู้หญิงผิวสีซึ่งนั่งอยู่ในที่นั่งซึ่งมีป้าย “สำหรับคนยุโรปเท่านั้น” คาดว่าเพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในปี 1952
ป้ายที่ถูกเขียนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาแอฟริกาเพื่อบังคับใช้นโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติในปี 1955
เด็กผิวขาวเล่นน้ำในสระที่มีป้ายเขียนว่า “สำหรับเด็กชาวยุโรปเท่านั้น” 1956
สวนสาธารณะสำหรับผู้หญิงที่ไม่ใช่ชาวยุโรป 1960
ป้ายที่แบ่งแยกทั้งเพศและเชื้อชาติซึ่งพบได้ทั่วโจฮันเนสเบิร์กในปี 1957
ม้านั่งในสวนสาธารณะ Albert Park เมื่อปี 1960
ป้ายแท็กซี่สำหรับคนผิวขาว 1967
ป้ายนอกสวนสาธารณะที่มีข้อความคราวๆ ว่า “จำกัดการใช้งานเฉพาะแม่ชาวยุโรปที่มีลูกอยู่ในอ้อมแขน” จากปี 1971
ป้ายแยกสีผิวบนชายหาดใกล้กับเคปทาวน์ในปี 1974
ป้ายในหาดใกล้ๆ กับเคปทาวน์ในปี 1976
ตู้รถไฟสำหรับคนผิวสีที่มีคำว่า “Non-Whites” เขียนไว้จากปี 1978
ตู้รถไฟที่สงวนไว้สำหรับคนผิวขาวโดยเฉพาะจากปี 1982
ห้องน้ำที่ถูกจำกัดให้ใช้โดย คนผิวสีและคนเอเชีย ในสถานีรถบัสเมื่อปี 1986
ป้ายคนขาวเท่านั้น บริเวณหน้าชายหาด ในปี 1988
และป้ายพื้นที่สำหรับคนขาวเท่านั้นบนหาดที่ Victoria Bay ที่ถึงกับต้องมียามเฝ้า ในปี 1988
ที่มา vintag
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น