CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

การค้นพบ “กาแล็กซีโบราณ 6 แห่ง” ติดกับดักในใยหลุมดำยักษ์ หลังเกิดจักรวาล 1 พันล้านปี

กลายเป็นข่าวที่มีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากไปแล้ว เมื่อในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (ESO) ได้ออกมาประกาศว่า

พวกเขาได้ค้นพบกาแล็กซีโบราณจำนวน 6 แห่งซึ่งตั้งอยู่ใน “เส้นใยแรงดึงดูด” ของหลุมดำมวลยิ่งยวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าทางช้างเผือกถึง 300 ท่า แถมเกิดขึ้นหลังเหตุบิกแบงไม่ถึง 1 พันล้านปีเท่านั้นด้วย

ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่า เหตุการณ์บิกแบงนั้นเกิดมาราวๆ 13 พันล้านปี จึงนับว่าเป็นกาแล็กซี่ที่มีอายุเก่าแก่เป็นอย่างมาก

 

 

คุณ Marco Mignoli นักดาราศาสตร์จาก สถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติแห่งเมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลีผู้นำการวิจัยบอกว่า นี่นับว่าเป็นครั้งแรกเลยที่นักดาราศาสตร์ค้นพบกาแล็กซีในรูปแบบนี้

และการศึกษากาแล็กซีเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เราสามารถ “ทำความเข้าใจในวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ท้าทายที่สุด อย่างหลุมดำมวลยิ่งยวดในอวกาศยุคแรกๆ เลย”

 

https://twitter.com/Rainmaker1973/status/1311666754704162820

 

อ้างอิงจากทวิตของคุณ Marco ที่ผ่านมาเรายังไม่มี “เหตุผลที่ดี” เลยว่าหลุมดำมวลยิ่งยวดซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เป็นพันล้านเท่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

อย่างไรก็ตามจากสิ่งที่พวกเขาพบ มันเป็นไปได้มากที่เส้นใยแรงดึงดูดที่พวกเขาพบ อาจจะเป็นสิ่งที่เกิดจากความช่วยเหลือของสสารมืด

และเป็นสิ่งที่คอยส่งก๊าซต่างๆ ให้หลุมดำราวกับสายสะดือ ทำให้หลุมดำสามารถขยายขนาดจนเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวดได้ในที่สุด

 

 

“เส้นใยจักรวาลเหล่านี้ ก็เหมือนใยแมงมุม” คุณ Marco ระบุ “กาแล็กซีที่เราพบตั้งอยู่และเติบโตในบริเวณที่มีเส้นใยและก๊าซพาดผ่าน ซึ่งก๊าซนี้ก็คอย เติมเชื้อเพลิงให้ทั้งกาแล็กซีและหลุมดำมวลยวดยิ่ง ผ่านเส้นใยจักรวาลอีกที”

นี่นับว่าเป็นการค้นพบที่ค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม การค้นพบนี้ก็อาจจะเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ ของการค้นพบที่ใหญ่กว่านี้มากก็เป็นได้

 

 

นั่นเพราะอ้างอิงจากคุณ Barbara Balmaverde หนึ่งในทีมวิจัย กาแล็กซี 6 แห่งนี้ถูกค้นพบเพราะมันเป็นสิ่งที่สว่างที่สุดในพื้นที่ดังกล่าว

ดังนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในเส้นใยแรงดังกล่าวนี้ จะมีกาแล็กซีที่ไม่สว่างมากนักซ่อนอยู่อีกหลายแห่งเลย

 

ที่มา dailymail, unilad และ euroweeklynews


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น