สำหรับคนที่รักและชื่นชอบในสัตว์โบราณอย่าง “ไดโนเสาร์” เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยสังเกตกันมาบ้างว่าไดโนเสาร์นั้น ที่ผ่านๆ มาล้วนแต่จะอาศัยอยู่บนบกทั้งสิ้น ดังนั้น นี่อาจจะเป็นข่าวการค้นพบครั้งใหม่ที่สั่นสะเทือนวงการบรรพชีวินวิทยา และความเชื่อของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในอดีตชนิดนี้เลยก็ได้
นั่นเพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง จากงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “Nature” ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์แรกที่มีความสามารถในการว่ายน้ำหากินอย่างเต็มตัว ไม่ใช่เพียงแค่การเดินลงน้ำเป็นครั้งคราวแล้ว!!
โดยเจ้าไดโนเสาร์ที่มาเขย่าวงการในครั้งนี้ คือไดโนเสาร์ที่หลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “สไปโนซอรัส” นั่นเอง โดยมันเป็นไดโนเสาร์ที่เดิมทีแล้วก็มีจุดเด่นจากอวัยวะคล้ายครีบบนหลัง ซึ่งทำให้ที่ผ่านๆ มา มีนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยที่คิดว่าพวกมันว่าจะกินปลาเป็นหลัก และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเป็นส
ดังนั้นในตอนที่นักบรรพชีวินวิทยา ได้ค้นพบฟอสซิลกระดูกส่วนหางของพวกมันในการขุดค้นเมื่อช่วงปี 2015-2019 ที่ประเทศโมร็อกโกพวกเขาจึงไม่แปลกใจเท่าไหร่ที่จะพบว่ากระดูกส่วนหางของพวกมันนั้นมีส่วนยืนออกมาคล้ายก้างปลา ซึ่งทำให้พวกเขาคิดว่าสไปโนซอรัสอาจจะมีครีบที่หางก็ได้
อ้างอิงจากข้อมูลในรายงาน จากรูปร่างของพวกสไปโนซอรัสแล้ว เป็นไปได้ว่าไดโนเสาร์ในตระกูลนี้น่าจะอาศัยส่วนหางเพื่อพลักตัวในการว่ายน้ำ ซึ่งทำให้พวกมันสามารถเคลื่อนตัวไปข้างหน้าในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ในลักษณะคล้ายกับ จระเข้ในปัจจุบันในปัจจุบันอีกที
ความจริงในข้อนี้ทำให้ภาพลักษณะของสไปโนซอรัส เปลี่ยนจากไดโนเสาร์ที่เคยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเพื่อดักจับปลาเฉยๆ กลายเป็นไดโนเสาร์ที่ว่ายน้ำจับปลาโดยตรงเลยได้ไม่ยาก และช่วยยืนยันแนวคิดที่เคยเป็นข้อกังขาในปี 2014 ที่บอกว่าสไปโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่วิวัฒนาการมาเพื่อหากินในน้ำโดยเฉพาะได้เป็นอย่างดี
“การค้นพบนี้เป็นตอกตะปูปิดฝาโลงแนวคิดที่ว่า ไม่มีไดโนเสาร์ตัวใดเคยย่างกรายอาณาจักรทางท้องทะเล ตราบใดที่พวกมันไม่ใช่ไดโนเสาร์บินได้ ได้เป็นอย่างดี” คุณ Nizar Ibrahim นักบรรพชีวินวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยดีทรอยต์เมอร์ซี ผู้นำทีมวิจัย และเจ้าของแนวคิดในปี 2014 กล่าว
“ไดโนเสาร์ตัวนี้ สามารถว่ายน้ำไล่ตามเหยื่อในน้ำลึกได้จริงๆ ไม่ใช่แค่ยืนอยู่ในน้ำตื้นๆ เพื่อรอให้ปลาว่ายผ่านอย่างที่เราเคยคิดมา”
ที่มา nationalgeographic, livescience, nature
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น