CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ย้อนรอย “Sweating Sickness” โรคปริศนาแห่งอังกฤษยุคกลาง ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าเกิดจากอะไร

ไม่น่าจะเป็นในยุคไหน หนึ่งในศัตรูที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ก็คงจะไม่พ้นโรคภัยไข้เจ็บเป็นแน่ แต่หากเราจะพูดถึงยุคที่โรคภัยไข้เจ็บส่งผลกระทบกับมนุษย์มากที่สุด เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงจะนึกถึงยุคกลางขึ้นมาก่อนเป็นอย่างแรก

แน่นอนว่าเรื่องราวของโรคภัยในยุคกลางนั้น ส่วนมากแล้วจะถูกไข หรืออย่างน้อยๆ ก็อธิบายไว้ได้สำเร็จแล้วโดย นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในบรรดาโรคมากมายที่คนโบราณต้องพบก็ยังคงมีโรคอยู่อย่างหนึ่งที่ยังคงไม่มีคำอธิบายมากนักแม้ในปัจจุบัน

 

 

โรคที่กล่าวมานี้มีชื่อว่า  “Sweating Sickness” หรือที่แปลได้ว่า “โรคไข้เหงื่อออก” โรคนี้ เป็นโรคที่เคยเกิดขึ้นในแถบประเทศอังกฤษและยุโรป ในช่วงศตวรรษที่ 15-16

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เหงื่อออก โดยมากแล้วจะแสดงอาการออกมาคล้ายๆ กันคือ ในช่วงแรกพวกเขาจะมีไข้และหนาวสั่น ปวดหัวปวดเมื่อย เจ็บตามร่างกายและไร้ซึ่งเรี่ยวแรง ก่อนที่ราวๆ 1-3 ชั่วโมงต่อมาคนไข้จะหิวกระหาย และเหงื่อออกรุนแรง มีอาการเพ้อ ชีพจรเต้นเร็ว ใจสั่น และเจ็บหน้าอก ก่อนที่ในที่สุดพวกเขาจะสิ้นลม

 

 

 

อาการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างบนนี้ โดยมากแล้วจะกินเวลาเพียงแค่ 18 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งทำให้โรคดังกล่าวจัดว่าเป็นโรคที่น่ากลัวเป็นอย่างมาก และด้วยความที่คนไข้ที่โชคดีจะหายจากโรคได้หากทนอาการได้ 24 ชั่วโมง โรคที่เกิดขึ้นจึงมีความซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากแพทย์แทบจะไม่มีโอกาสได้ตรวจสอบอาการของคนไข้เลย

การระบาดของโรคไข้เหงื่อออกเชื่อกันว่าเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ราวๆ 5 ครั้ง โดยมีการระบาดครั้งแรกและครั้งที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นในปี 1485 ในยุคสมัยของกษัตริย์ เฮนรีที่ 7 ก่อนจะเกิดขึ้นถี่ๆ จนหายไปอย่างลึกลับในปี 1551 และกลับมาอีกครั้งในฝรั่งเศสช่วงปี 1718-1874 ในรูปแบบที่เบากว่าที่เคยเป็นมากอีกที

 

 

จุดที่น่าสนใจอีกจุดของโรคไข้เหงื่อออกคือมันไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับชาวบ้านเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับชนชั้นสูงอย่างขุนนาง นักบวชชั้นสูง หรือแม้แต่คนรักของกษัตริย์ ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างแปลกในอดีต และนักว่าเป็นโชคดีของ เฮนรีที่ 7 มาที่ภรรยาของเขาเป็นหนึ่งในคนจำนวนเพียงน้อยนิดที่รอดจากโรคนี้มาได้

 

เฮนรีที่ 7 กษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง ในช่วงที่โรคไข้เหงื่อออกเกิดขึ้น

 

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้แต่เดาว่า โรคที่เกิดขึ้นในอดีตโรคนี้ เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากไวรัสฮันทาซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มที่มักจะมาจากหนู หรือไม่ก็อาจจะเป็นอาร์โบไวรัสไวรัสประเภทเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบ และไข้เหลือง เนื่องจากอาการของโรคเหล่านี้มีอาการเหงื่อออกร่วมด้วยคล้ายกับโรคที่เกิดขึ้น

 

 

แต่ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีไหนก็สุดท้ายแล้วนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีหลักฐานมากพอที่จะนำมาสนับสนุนแนวคิดของตัวเองอยู่ดี และตัวจริงของโรคไข้เหงื่อออกที่เกิดขึ้นเอง ก็ยังคงเป็นปริศนาที่ไม่มีใครไขได้อย่างแท้จริงอยู่ดี

 

ที่มา amusingplanet, britannica


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น