CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

หนุ่มไทยแชร์ประสบการณ์เป็น “ครูแลกเปลี่ยน” ออสเตรเลีย กับระบบการศึกษาที่ทำให้รู้สึกว๊าว

ประเด็นเรื่องของคุณภาพการศึกษา เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในสังคมไทย และบ่อยครั้งที่เรามักได้อ่านเรื่องราวในต่างประเทศที่ชวนให้รู้สึกว้าว

เมื่อไม่นานมานี้ บนเฟซบุ๊กของ ครูทิว – ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ได้เขียนเล่าประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการในฐานะ “ครูแลกเปลี่ยน”

โครงการดังกล่าวมีชื่อว่า Australia-ASEAN BRIDGE School Partnerships Project 2018 ซึ่งเปิดโอกาสให้ครูไทยอย่างเขา ได้ลองไปทำงานในประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่พัฒนาแล้ว

 

 

สิ่งที่น่าสนใจคือระบบการทำงานและนโยบายด้านการเรียนการสอน ซึ่งออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้โดยเน้นไปที่การตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก เช่น

– ทุกเช้าช่วง 08.00 – 08.30 น. ครูทุกคนจะมาร่วมกันอ่านสรุปข้อมูลปฏิบัติงานประจำวัน

– ไม่ต้องเซ็นต์ชื่อเวลาเข้างาน เพราะทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองว่าต้องมาสอนหนังสือ (เว้นแต่ต้องไปทำธุระระหว่างวัน)

– ไม่มีเข้าแถวช่วงเช้า

– ครูไม่ต้องสวมสูท ผูกเน็กไท สามารถแต่งกายแบบสบายๆ ได้

– ไม่มีการทำงานเอกสารนอกเหนือการสอน

– ไม่ต้องจัดเวรยามเฝ้ากลางคืน เพราะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่แล้ว

 

 

ในส่วนของการเรียน จะเห็นได้ชัดว่าหลักสูตรส่วนใหญ่ไม่เน้นเนื้อหาทางวิชาการมากนัก แต่เน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ รวมทั้งมีช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่นว่า

– ในหนึ่งวันจะแบ่งออกเป็น 6 คาบเรียน 2 คาบแรกช่วงเช้า (คาบละ 60 นาที) จากนั้นพัก 20 นาที อีก 2 คาบช่วงก่อนพักกลางวัน (คาบละ 50 นาที) พักเที่ยง 50 นาที และคาบบ่ายอีก 2 คาบ (คาบละ 40 นาที)

– ทุกวันอังคารไม่มีเรียนคาบบ่าย ให้นักเรียนทุกคนเปลี่ยนไปเข้าคลับกีฬาแทน

– ทุกวันพฤหัสบดี มีช่วงของการชุมนุมพบปะให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากนั้นเลิกเรียนประมาณบ่าย 3 โมง

– นักเรียนห้องหนึ่งมีประมาณ 25 คนเพื่อให้ดูแลได้อย่างทั่วถึง

– หากเป็นนักเรียนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษจะมีครูการศึกษาพิเศษมานั่งประกบทุกครั้งที่เรียนร่วม ทั้งยังมีแผนกการศึกษาพิเศษเฉพาะในโรงเรียน

 

 

– ทางโรงเรียนสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน (ทั้งพื้นฐานและอิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้สามารถใช้ทำงานในชั่วโมงได้ทุกคาบ ซึ่งเงินในส่วนนี้ได้เก็บรวมอยู่ในค่าเทอมแล้ว ช่วยลดภาระให้กับผู้ปกครองเนื่องจากถูกกว่าต้องไปหาซื้อตามท้องตลาด

– หากมีคำถาม ครูที่นี่จะเปิดโอกาสอย่างเต็มที่ สามารถถกประเด็นที่สนใจ รวมทั้งตอบคำถามได้อย่างอิสระ

– มีการพานักเรียนไปทัศนศึกษา ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาสอนเรื่องความปลอดภัย ให้เด็กๆ เรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ตามความสนใจ ไม่มีการบังคับ

– ไม่มีการสอบซ่อม หรือแก้เกรด เพราะครูผู้สอนที่อยู่กับเด็กทั้งเทอม สามารถออกแบบการเรียนให้มีประสิทธิภาพได้ตามอิสระจนถึงก่อนการวัดผลครั้งสุดท้าย

 

 

ด้วยแผนการเรียนเหล่านี้ทำให้เด็กๆ ในโรงเรียนมีความกล้าที่จะแสดงออก ทั้งยังได้ทดลองเรียนรู้เพื่อค้นหาตัวเอง

ฝ่ายครูผู้สอนก็สามารถตั้งเป้าหมายเป็นการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีภาระงานอย่างอื่น ช่วยให้มีเวลาพัก ไม่เหนื่อยจนเกินไป

พอได้อ่านเรื่องราวแบบนี้แล้ว หลายอย่างก็น่าสนใจมากจนอยากให้เอามาปรับใช้ในประเทศของเราจริงๆ เนอะ ว่าไหม? 🙂

 

ที่มา: ธนวรรธน์ สุวรรณปาล


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น