วันที่ 3 มีนาคม 2021 ที่ประเทศเมียนมายังคงมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารจากการทำรัฐประหารกันอย่างต่อเนื่อง และในวันนั้นคือวันที่มีการปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยอาวุธปืนพร้อมกระสุนจริง ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 38 รายภายในวันเดียว
#March3Coup Yangon. Terrorist group soldier fires directly into apartment at person taking video. #WhatsHappeninglnMyanmar #Myanmarcoup pic.twitter.com/eyzzXijvxE
— Shafiur Rahman (@shafiur) March 3, 2021
ภายหลังเหตุการณ์ปราบปรามนองเลือดในเมียนมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2021 มีการประณามการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามของรัฐบาลทหารเมียนมาจากนานาชาติ ทว่าทางรัฐบาลทหารเมียนมาก็ยังคงใช้วิธีการเช่นนี้ในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านในหลายเมือง
การใช้กระสุนจริงโดยไม่มีคำเตือนหรือน้อยมาก
เจ้าหน้าที่รัฐเมียนมาบรรจุกระสุนจริงในอาวุธปืนและยิงใส่ผู้ชุมนุมโดยไม่มีการเตือนใดๆ ทั้งนี้เป็นผลพวงมาจากท่าทีของกองทัพเมียนมาที่มีความมุ่งมั่นมากขึ้นกว่าเดิมที่จะหยุดการประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร
https://twitter.com/PhyoOoSoe1/status/1367046133344653312
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานอ้างถึง Ko Bo Kyi เลขาธิการร่วมของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองเมียนมา กล่าวว่าก่อนหน้านั้นทหารได้ฆ่าไปแล้วอย่างน้อย 18 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจนกระทั่งหมดวัน
https://twitter.com/YanShinKoKoAung/status/1367144444269576195
มีพยานหลายคนเห็นว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 รายในย่างกุ้ง Kaung Pyae Sone Tun ผู้เข้าร่วมชุมนุมประท้วงวัย 23 ปี กล่าวกับสื่อว่าเขาต้องนอนราบกับพื้นขณะที่มีเสียงปืนดังขึ้นและยิงต่อเนื่องหลายนัด
นอกจากนั้นแล้วมีรายงานว่าพบผู้เสียชีวิตอีก 6 รายในเมืองโมนยวา ผู้ชุมนุมอีกหลายรายถูกยิงเสียชีวิตในเมืองมัณฑะเลย์
องค์กร Save the Children เปิดเผยว่าในจำนวนยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นองเลือดครั้งนี้ เป็นเด็ก 4 ราย หนึ่งในนั้นคือเด็กชายวัย 16 ปีถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารที่มากับรถเคลื่อนกำลังพล จากนั้นทหารก็ขับรถออกจากจุดเกิดเหตุไป
Angel, 19, wore a T-shirt that read 'Everything will be OK' as she joined anti-coup protesters in Myanmar. She was killed by a shot to the head as she fought for a tentative democracy in which she had proudly voted for the first time last year. Read more: https://t.co/EGIGQ2niET pic.twitter.com/Y9q75P0xJS
— Reuters Pictures (@reuterspictures) March 3, 2021
อีกหนึ่งรายในนั้นก็คือ Ma Kyal Sin (Angel) ผู้เข้าร่วมชุมนุมวัย 19 ปี ถูกยิงเข้าที่บริเวณศีรษะเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ระหว่างการประท้วงบนท้องถนนในเมืองมัณฑะเลย์
เธอทราบดีว่าอาจจะต้องเสียชีวิตหากเข้าร่วมชุมนุม
หลายแหล่งข่าวต่างประเทศร่วมกันยืนยันว่าเธอเสียชีวิตจากการเข้าร่วมชุมนุมบนถนนในเมืองมัณฑะเลย์
Ma Kyal Sin หรือ Angel สวมใส่เสื้อสีดำสกรีนข้อความ “Everything will be okay” ในวันที่เธอเข้าร่วมชุมนุม
สำหรับน้อง Angel เคยเป็นนักเต้นและผู้ฝึกสอนเทควันโดก่อนที่เธอจะเสียชีวิต ในระหว่างการชุมนุมเธอได้ทำการเตะท่อน้ำระหว่างการชุมนุม เพื่อให้ผู้ชุมนุมได้ล้างหน้าลดอาการแสบจากแก๊สน้ำตา
คลิปวิดีโอในโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นว่าช่วงจังหวะที่มีการเข้าปราบปราม เจ้าหน้าที่ใช้กำลังเคลื่อนเข้าพื้นที่พร้อมอาวุธปืน เธอจะตะโกนเปล่งเสียงว่า ‘จะไม่วิ่งหนี’
ประสงค์บริจาคร่างกายหากเสียชีวิต
Angel ได้ไปใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเมียนมาในเดือนพฤศจิกายน 2020 เธอแชร์โพสต์ดังกล่าวในโซเชียลมีเดียว่า ‘โหวตแรกในชีวิต จากก้นบึ้งของหัวใจ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ประเทศแล้ว’
ด้วยผลของการเลือกตั้งที่ออกมา ชี้ชัดแล้วว่าสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยคว้าชัยชนะในการเลือกตั้ง จากนั้นกองทัพเมียนมาจึงเข้ามาแทรกแซง จนนำไปสู่การทำรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพลเรือน
และก่อนที่ Angel จะเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหาร เธอรู้ดีว่ากำลังเอาชีวิตของตัวเองมาเสี่ยง เธอจึงโพสต์ลงในเฟซบุ๊กบอกรายละเอียดทางด้านสุขภาพ และลงคำขอให้นำร่างกายของเธอไปบริจาคหากเธอเสียชีวิต
และหลังจากที่เธอจากไปแล้ว เพื่อนๆ ได้ร่วมกันแชร์ข้อความดังกล่าวของเธอก่อนที่จะเข้าร่วมชุมนุม “ครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ฉันจะได้บอก รักทุกคนมากนะ อย่าลืมกันล่ะ”
ชาวเมียนมาร่วมไว้อาลัยแก่การจากไปของ Angel
https://twitter.com/zlin_n/status/1367138207083601920
หลังเหตุการณ์เสียชีวิตของเธอ มีประชาชนชาวเมียนมาหลายคนเข้าร่วมงานศพของเธอในวันที่ 4 มีนาคม 2021 ถือดอกไม้และชูสัญลักษณ์สามนิ้วเพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจทหารเมียนมา
.
.
.
.
https://twitter.com/yeminkhantt/status/1367329093226803204
.
https://twitter.com/Calypso050616/status/1367318247532613635
นักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์ Thinzar Shunlei Yi กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์สผ่านแอปแมสเซนเจอร์ว่า “มันน่ากลัวมาก มันคือการสังหารหมู่ ไม่มีคำใดที่จะอธิบายสถานการณ์และความรู้สึกของเราได้เลย”
จากการรายงานขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่าเจ้าหน้าที่รัฐเมียนมาทำการจับกุมคุมขังประชาชนไปไม่ต่ำกว่า 1,200 ราย โดยที่ครอบครัวผู้ที่ถูกจับไปนั้นไม่ทราบถึงชะตากรรม
ทั้งนี้เคยมีการยืนยันตัวเลขจากสื่อของรัฐเมียนมาที่ทำการจับกุมประชาชนไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ทั้งสิ้น 1,300 ราย
.
จากต้นเหตุของการชุมนุมที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงปราบปราม ทั้งนี้มีเพียง 4 ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนที่แสดงท่าทีเรียกร้องให้ทำการปล่อยตัว อองซานซูจี และผู้ต้องขังรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
เรียบเรียงโดย #เหมียวเลเซอร์
ที่มา: reuters, channelnewsasia, savethechildren, news.com.au, washingtonpost
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น