ภาพถ่ายขาวดำเก่าๆ นั้น สำหรับหลายคนแล้วคงจะให้ความรู้สึกมีมนต์ขลังอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามแม้แต่ในอดีตเอง มันก็มีหลายครั้งไม่ใช่น้อยที่ผู้คนอยากเห็นภาพถ่ายต่างๆ ในแบบที่มีสีสัน
ด้วยเหตุนี้เอง แม้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งภาพถ่ายสียังไม่เป็นที่แพร่หลายนักเราก็ยังคงมีตากล้องชาวเยอรมันอย่าง Hans Hildenbrand ซึ่งตัดสินใจที่จะถ่ายภาพสงครามในเวลานั้นให้มีสีสันสดใส
สนามเพลาะของเยอรมัน ที่ถูกถ่ายไว้โดย Hans Hildenbrand
และแม้ว่าเขาจะไม่อยู่บนโลกใบนี้แล้วก็ตาม เราก็คงต้องขอบคุณพวกเขาไม่ใช่น้อย ที่ทำให้เราได้มีโอกาสมองภาพจากสงครามในเวลานั้น ในรูปแบบที่มีสีมาตั้งแต่อดีตอย่างแท้จริง…
ภาพถ่ายเหมือนอย่างภาพเหล่าทหารในสงครามของเยอรมนี ในช่วงปี 1914-1918 ต่อไปนี้
เริ่มกันจากภาพกลุ่มทหารเยอรมันกลาง ซากปรักหักพังของ Sommepy หมู่บ้านฝรั่งเศสริมแม่น้ำ Marne
หลุมฝังศพที่มีทหารกว่า 30,000 คนถูกฝังไว้
กองทหารในเมือง Champagne ซึ่งตากล้องถูกนำไปฝากตัวไว้ด้วยตั้งแต่ช่วงปี 1915-1916
บรรยากาศสบายๆ ที่หาได้ยากในหลุมเพลาะ ถูกถ่ายให้มีสีด้วยเทคนิค autochrome
ผลงานส่วนมากของ Hildenbrand ล้วนแต่ถูกจัดฉากก่อนถ่าย แต่ไม่ใช่เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ
กลับกันการถ่ายภาพของเขาจะไม่สามารถจับภาพที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ ได้
Hildenbrand กับการลองใช้เทคนิคการถ่ายภาพสามมิติ (Stereoscopic)
ทหารเยอรมันถ่ายภาพพร้อมปืนกล
บรรยากาศกองทหารที่ Hartmannsweilerkopf ภูเขาในดินแดนฝรั่งเศส
วิศวกรทหารหน้าบังเกอร์ใน Champagne
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภาพของโบสถ์ที่ถูกทำลายนับว่าเป็นภาพที่ได้รับความนิยมในหมู่ช่างภาพมาก
บรรยากาศที่ Hartmannsweiler Kopf ในปี 1916 ซึ่งถือว่าอยู่ในแนวหน้าของสงคราม
แต่ดูจากในภาพที่สีสันสดใสแล้วแทบไม่รู้สึกเลย
ฤดูหนาวใน Alsace เมื่อปี 1916
หมู่บ้านของฝรั่งเศส Sainte-Marie-a-Py ในฤดูร้อนปี 1915
ภาพถ่ายของทหารเยอรมันที่ Fort de Souville
ภาพต่อไปนี้ถูกถ่ายไว้โดย Gervais-Courtellemont ชายผู้ชื่นชอบถ่ายภาพสีของฝั่งฝรั่งเศส
ภาพมุมสูงของเมือง Verdun ฤดูร้อนปี 1916 ราวๆ 8 เดือนหลังโดนถล่มทิ้งระเบิด
และแม้ว่า Hans Hildenbrand และ Gervais-Courtellemont จะอยู่คนละฝั่งกันก็ตาม
เมื่อสงครามจบลงทั้งคู่ก็ได้มีโอกาสทำงานให้กับสำนักพิมพ์อเมริกันในภายหลัง ก่อนจะกลายเป็นช่างภาพของ National Geographic ต่อไป
ที่มา rarehistoricalphotos
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น