ย้อนกลับไปในช่วงปี 1947 ราวๆ 2 ปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ในขณะที่ช่างภาพนาม Ernst Haas กำลังถ่ายภาพการเดินทางกลับบ้านของ เชลยศึกที่สถานีรถไฟสายใต้ของเวียนนาประเทศออสเตรีย
เขาได้มีโอกาสจับภาพอันที่แสนบาดใจของหญิงผู้หนึ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภาพถ่ายในตำนาน มีโอกาสได้ข้ามน้ำข้ามทะเลจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ภาพถ่ายที่เห็นนี้เป็นภาพถ่ายเชลยศึกผู้กำลังยิ้มแย้มแจ่มใสที่ได้กลับบ้าน เดินทางผ่านผู้หญิงคนหนึ่งที่ถือภาพถ่ายของลูกชายไว้ด้วยดวงตาที่ผสมไปด้วยความรู้สึกทั้งสิ้นหวังและมีความหวัง
และยังคงเป็นภาพถ่ายที่ผู้คนยังคงสงสัยกันถึงทุกวันนี้ว่าตกลงหญิงคนนี้ได้พบกับลูกชายหรือไม่
ภาพถ่ายด้านบนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของชุดภาพชื่อ “Homecoming” ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Heute และ American Life
โดยเชลยศึกในภาพนั้น เป็นเชลยศึกระลอกแรกราวๆ 600 ชีวิต ที่ล้วนแต่จะได้รับการปล่อยตัวกลับมาจากยุโรปตะวันออก หลังจากที่พวกเขาถูกสหภาพโซเวียตจับกุมตัวและนำไปใช้แรงงานหลังสงครามจบลงอีกที
อ้างอิงจากรายงานทางประวัติศาสตร์จนจบสงครามสหภาพโซเวียตได้จับกุมตัวทหารจากเยอรมนีและประเทศแถบยุโรปอื่นๆ ไปราวๆ 3.5 ล้านชีวิต
โดยในจำนวนนี้เชื่อกันว่าร่วม 60% ไม่มีโอกาสได้รอดชีวิตกลับบ้าน ในขณะที่คนที่เหลือมักถูกใช้แรงงานอย่างหนัก และต้องค่อยลุ้นกับการส่งตัวนักโทษกลับที่ไม่สม่ำเสมอ
และกว่าที่นักโทษสงครามส่วนใหญ่จะถูกส่งตัวกลับบ้านเกิดของพวกเขาจริงๆ มันก็หลังจากช่วงปี 1953 ซึ่งโจเซฟ สตาลินผู้นำของสหภาพโซเวียตเสียชีวิตเลย
ที่มา rarehistoricalphotos
Advertisement