CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

มหาวิทยาลัยสหรัฐฯ โชว์ควบคุมหุ่นจิ๋วในทวารหนู ต่อยอดสู่การให้ยามนุษย์ ในอนาคต

ด้วยการพัฒนาของหุ่นยนต์ในปัจจุบัน แนวคิดที่ว่าเราจะใช้หุ่นจิ๋วเข้าไปทำงานในร่างกายของมนุษย์จึงค่อยๆ กลายเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสนใจกันขึ้นเรื่อยๆ เป็นธรรมดา

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เมื่อได้ยินข่าวการพัฒนาหุ่นตัวใหม่ของมหาวิทยาลัยเพอร์ดูในสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าเราก็คงมีหลายๆ คนไม่น้อยเลยที่จะแปลกใจกับการทดลองของพวกเขา

 

การเคลื่อนที่ของหุ่นจิ๋วภายในลำไส้ใหญ่

 

นั่นเพราะในการแสดงความสามารถของ หุ่นตัวใหม่ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ พวกเขาได้เลือกที่จะทดลอง นำหุ่นไปขับโชว์ในทวารหนักและลำไส้ใหญ่ของสิ่งมีชีวิตเสียอย่างนั้น

โดยเหตุผลที่ทางมหาวิทยาลัยทำการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ตัวใหม่เช่นนี้นั้น มาจากการที่หุ่นยนต์ของพวกเขานั้นมีขนาดเล็กเอามาก ถึงขนาดที่ว่าสามารถเข้าไปในทวารหนักของหนูได้โดยที่มันไม่รู้สึกเจ็บปวด

แต่กลับสามารถความคุมมันจากระยะไกลได้ ซึ่งทำให้มันเหมาะสมกับการเคลื่อนไหวในร่างกายสิ่งมีชีวิตเพื่อนำยาไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง

 

วิดีโอหุ่นตัวใหม่ของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู

 

อ้างอิงจากคุณ David Cappelleri รองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลผู้ร่วมเขียนบทความ หุ่นยนต์ของพวกเขานั้นเคลื่อนไหวได้โดยอาศัยสนามแม่เหล็กภายนอก

ซึ่งจะทำให้ตัวหุ่นสามารถ “กลิ้ง” ไปในทิศทางที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ด้วยซ้ำ

 

ขนาดของหุ่นเมื่อเทียบกับเหรียญ 1 เซนต์

 

“เมื่อเรานำสนามแม่เหล็กภายนอกไปประยุกต์ให้กับหุ่น พวกมันะหมุนเหมือนกับที่ยางรถยนต์เคลื่อนที่ไปบนพื้นที่ขรุขระ” คุณ David Cappelleri ระบุ

ซึ่งวิธีการเช่นนี้ก็ทำให้ตัวหุ่นสามารถมีรูปร่างที่เรียบง่ายมาก และทำให้มันสามารถถูกผลิตได้ในปริมาณมากๆ พร้อมกันเลย

“การเคลื่อนย้ายหุ่นในสัตว์ขนาดใหญ่หรือมนุษย์อาจต้องใช้หุ่นยนต์หลายสิบตัว  แต่นั่นก็หมายความว่าเราสามารถกำหนดเป้าหมายการนำยาไปส่งได้มากขึ้นตามไปด้วย”

 

 

และที่สำคัญคือแม้ว่าในการทดลอง นักวิทยาศาสตร์จะเลือกทวารหนักและลำไส้ใหญ่ของหนูในการทดลอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว หุ่นยนต์ของพวกเขายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอวัยวะอื่นๆ ได้อีกมากเลย

ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เราอาจจะได้เห็นการใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กเหล่านี้ ในการทางการแพทย์ต่อไปในอนาคตเลย

 

ที่มา futurism และ Purdue University Mechanical Engineering


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น