CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์สแตนฟอร์ดสร้าง “ลู่วิ่ง” ให้ “จุลินทรีย์ในน้ำ” ลบข้อจำกัดการศึกษาที่เคยมี

ในปัจจุบันอุปกรณ์ออกกำลังกายอย่างลู่วิ่งไฟฟ้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกจำกัดให้ใช้เพียงแต่กับมนุษย์อีกต่อไป เพราะแม้แต่ในสัตว์อย่างสุนัข แมว หรือแม้แต่ม้า เราก็สามารถเห็นมันใช้ประโยชน์จากลู่วิ่งได้ทั้งสิ้น

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามผลงานการสร้างลู่วิ่งของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อล่าสุดนี้ ก็ยังคงถือเป็นอะไรที่น่าแปลกใจอยู่ดี

นั่นเพราะเขาเลือกที่จะทดลองสร้าง “ลู่วิ่ง” ให้กับ “จุลินทรีย์” ที่อาศัยอยู่ในน้ำนั่นเอง

 

 

ผลงานสุดแปลกในครั้งนี้ได้รับการเปิดเผยออกมาเป็นครั้งแรกในวารสาร Nature Methods เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา

เจ้าลู่วิ่งอันใหม่นี้ จะอาศัยระบบการอุทกพลศาสตร์ และการถ่ายเทมวลสารในการสร้างสภาพแวดล้อมที่คล้ายกับแหล่งน้ำธรรมชาติแก่จุลินทรีย์

โดยมีเป้าหมายที่จะให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตมีพฤติกรรมอย่างไรในน้ำที่ทอดยาวอย่างไร้ที่สิ้นสุดซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะทำได้โดยการดูพวกมันในจานเล็กๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ตามปกติ

 

 

อ้างอิงจากคุณ Manu Prakash ทีมวิจัย ผลงานออกพวกเขานั้นออกแบบมาลู่วิ่งรูปวงล้อหมุนไปเพื่อให้ จุลินทรีย์ถูกกล้องจุลทรรศน์จับภาพการเคลื่อนไหวของมันได้ตลอดเวลา

ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาสามารถสังเกตการณ์การเคลื่อนไหวของจุลินทรีย์ในระยะไกลหลายกิโลเมตรได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำท่อยาวหนึ่งกิโลเมตรขึ้นมาจริงๆ

 

วิดีโอการทำงานของลู่วิ่งอันใหม่นี้

 

โดยคุณ Prakash กล่าวหลังจากที่พวกเขาใช้เครื่องมือนี้ค้นพบความสามารถในการว่ายน้ำขึ้นลงของจุลินทรีย์ที่ปกติไม่น่าจะว่ายน้ำได้ว่า

“มันไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลยที่เราจะบอกว่าทุกครั้งที่เราใส่สิ่งมีชีวิตลงในเครื่องมือนี้ เราจะได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ “

โดยในกรณีของจุลินทรีย์ตัวนี้ นักวิทยาศาสตร์ก็บรรยายความทึ่งของพวกเขาไว้ว่า

“มันราวกับว่าเราเห็นก้อนหิน สามารถลอยตัวขึ้นในน้ำ จมลง และลอยตัวกลับขึ้นมาอีกครั้งไปเรื่อยๆ เลย” 

 

ตัวอย่างการจับภาพของเครื่องมือชิ้นนี้

 

นี่นับว่าเป็นผลงานความสำเร็จของทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มเล็กๆ ที่อาจจะมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่อวงการต่อไปเลยก็ว่าได้

และนั่นก็ทำให้ในปัจจุบันเครื่องมือนี้ได้รับอนุญาตให้ถูกนำไปติดตั้งทั้งในสแตนฟอร์ด ในเปอร์โตริโก และบนเรือวิจัยนอกชายฝั่งฮาวายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และมันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เครื่องมือดังกล่าวก็อาจจะกลายเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ที่อยู่คู่กับห้องวิทยาศาสตร์ต่อไปเลยก็ได้

 

ที่มา futurism, techcrunch และ nature


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น