สำหรับคนที่ติดตามข่าวการอนุรักษ์ธรรมชาติ เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยสังเกตกันว่าในปัจจุบัน แหล่งที่อยู่อาศัยที่มีความหลากหลายทางชีวะภาพสูงๆ นั้น โดยมากแล้วมักจะเป็นพื้นที่เกาะ
ดังนั้นเมื่อล่าสุดนี้เอง ภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลอังกฤษ มหาวิทยาลัยพลิมัท พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอน และองค์กรสิ่งแวดล้อมอีกกว่า 10 แห่ง
ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงกำลังร่วมมือกันดำเนินการเปลี่ยนแปลงเกาะที่ได้ชื่อว่า “ห่างไกลที่สุดในโลก” ให้เป็น “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า” แห่งใหม่ที่ใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของโลกเสียเลย
โครงการชิ้นใหม่ที่สุดยิ่งใหญ่อลังการนี้ ถูกระบุไว้ว่าจะจัดขึ้นบนหมู่เกาะชื่อ “Tristan da Cunha” พื้นที่ราวๆ 687,247 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้
โดยสถานที่แห่งนี้ ได้รับการวางแผนที่จะเปิดเป็น โซนห้ามเข้าขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่ตั้งแต่เหนือท้องฟ้าลงไป ยันใต้ท้องทะเลรอบๆ เกาะ ป้องกันการเข้าไปจับปลา หรือล่าสัตว์บนเกาะโดยสมบูรณ์
หากประสบความสำเร็จ Tristan da Cunha ที่อยู่ห่างจากเกาะอื่นๆ ถึง 2,400 กิโลเมตร ก็จะกลายเป็นน่านน้ำเขตห้ามเข้าที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก
และกลายเป็นพื้นที่ที่มีส่วนร่วมสำคัญในเป้าหมายของสหราชอาณาจักรที่จะ อนุรักษ์พื้นที่ 30% ของมหาสมุทรโลกภายในปี 2030 ต่อไปได้ไม่ยาก
“ชีวิตของเราใน Tristan da Cunha มีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์ของเรากับทะเลมาโดยตลอด และมันก็ยังคงเป็นเช่นนั้นแม้ในทุกวันนี้”
คุณ James Glass ผู้นำชาวเกาะ Tristan da Cunha ระบุ
“ชุมชน Tristan มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ บนบกเราได้ประกาศการคุ้มครองพื้นที่กว่าครึ่งของที่เรามีไปแล้ว ส่วนในน้ำเองก็ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญของเราเช่นกัน”
“ดังนั้นเราจึงปกป้องน่านน้ำของเราอย่างเต็มที่ถึง 90% และเราก็ภูมิใจที่เราสามารถมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของมหาสมุทรด้วย”
ที่มา iflscience, oceanwide-expeditions และ pnas
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น