CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ย้อนรอย “จลาจลที่เมืองทัลซา” การสังหารหมู่คนดำ ที่ถูกลืมเลือนไปจากประวัติศาสตร์

เพื่อนๆ เคยได้ยินเรื่องจลาจลที่เมืองทัลซากันมาก่อนไหม? นี่คือเรื่องราว การสังหารหมู่จากความเกลียดชังสีผิวที่รัฐโอคลาโฮมาในช่วงปี 1921 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์นองเลือดจากการเหยียดผิวที่โหดร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของสหรัฐฯ แต่กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเลยก็ว่าได้

 

 

เหตุการณ์นองเลือดในครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นานนักหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งในเวลานั้นกลุ่ม “คูคลักซ์แคลน” (Ku Klux Klan) หรือ KKK ซึ่งเชื่อว่าคนขาว “เหนือกว่า” คนผิวสีกำลังมีอำนาจเป็นอย่างมาก

กลุ่มคนเหล่านี้ หวาดระแวงและไม่พอใจความรุ่งเรืองของเมืองทัลซา ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของย่านคนผิวสีฐานะดีอย่างกรีนวูด และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วจากการค้นพบน้ำมันเป็นอย่างมาก จนทำให้ในช่วงเวลานั้น แม้แต่เหตุการณ์ความขัดแย้งเล็กๆ ก็อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงได้ไม่ยากเลย

 

 

ดังนั้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 1921 ในตอนที่เด็กผิวสีวัย 19 ปีอย่างดิก โรว์แลนด์ ถูกจับด้วยข้อหาล่วงเกินทางเพศเพราะไปทำให้ผู้หญิง “กรีดร้อง” ในลิฟต์ กลุ่มคนผิวขาวจำนวนมาก จึงตัดสินใจไปชุมนุมประท้วงหน้าศาลและเรียกร้องให้ตำรวจส่งเด็กหนุ่มผิวสีเพื่อที่พวกเขาจะได้นำตัวเด็กไป “ลงโทษ” ราวกับเป็นศาลเตี้ย

นี่เป็นการจับกุมที่คลุมเครือเป็นอย่างมาก เพราะในเวลานั้น ไม่ได้มีการรายงานด้วยซ้ำว่าเพราะอะไรหญิงสาวที่ขึ้นลิฟต์กับโรว์แลนด์จึงกรีดร้องขึ้นมา ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจที่จะปฏิเสธการส่งตัวเด็กหนุ่มให้แก่ผู้ชุมนุม

 

 

การตัดสินใจในเวลานั้น ทำให้ผู้ชุมนุมไม่พอใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเป็นท่าไม่ดีทางคนผิวสีติดอาวุธบางส่วน (ซึ่งหลายคนเป็นทหารผ่านศึก) จึงได้ตัดสินใจเดินทางทางไปยังศาลเพื่อช่วยปกป้องเด็กหนุ่ม แต่ก็ต้องพบว่า ผู้ชุมนุมผิวขาวในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1,500 คนแล้ว และบางส่วนก็มีการพกพาอาวุธเช่นเดียวกับพวกเขา

จำนวนคนที่มากมายขนาดนี้ ทำให้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เหตุการณ์การชุมนุมครั้งนี้ก็ตกลงสู่ความวุ่นวาย โดยหลังจากที่มีเสียงปืนดังขึ้นจากการเผชิญหน้ากันระหว่างคนติดอาวุธ ผู้ชุมนุมผิวขาวที่มีมากกว่าก็สามารถทำให้ คนผิวดำต้องล่าถอยไปยังกรีนวูด และการสังหารหมู่คนดำก็ได้เริ่มต้นขึ้น

 

 

พวกเขาบุกเข้าไปตามสถานที่ต่างๆ ในเมือง ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือโรงหนัง ก่อนที่จะไล่สังหารคนผิวสี ปล้นร้านค้าต่างๆ และจุดไฟเผาอาคารต่างๆ ด้วยความโกรธแค้น ในขณะที่นักดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ เนื่องจากถูกผู้ชุมนุมผิวขาวขู่ด้วยอาวุธปืน

เหตุการณ์ในครั้งนี้กินเวลาอยู่ราวๆ 1 คืนก่อนที่กองกำลังรักษาความมั่นคงแห่งชาติจะเคลื่อนพลเข้าไปในทัลซา และรัฐบาลประกาศบังคับใช้กฎอัยการศึกในวันที่ 1 มิถุนายน

 

 

แต่กว่าจะถึงเวลานั้น บ้านกว่า 1,256 หลัง บริาัทหลังสือพิมพ์สองแห่ง โรงเรียน ห้องสมุด โรงพยาบาล โบชถ์ โรงแรก และร้านค้าของคนผิวสีอีกเป็นจำนวนมาก ก็ถูกทำลายจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไปแล้ว

ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ เรียกได้ว่าแทบจะทำให้เมืองที่เคยรุ่งเรืองกลายสภาพเป็นนรก แถมราวกับเคราะห์ซ้ำกำซัดของคนผิวสีในเมือง พวกเขาไม่ได้รับเงินประกันจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย เนื่องจากบริษัทประกันบอกว่าการชดเชยค่าเสียหายของทรัพย์สินไม่ครอบคลุมถึงสาเหตุจากการจราจล

 

 

เท่านั้นยังไม่พอ ด้วยมุมมองของคนส่วนใหญ่ในเวลานั้น การสืบสวนคดีการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้น ยังไม่มีความยุติธรรมอย่างถึงที่สุด โดยเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มักจะโยนความผิดไปให้คนผิวสี และในบันทึกยอดผู้เสียชีวิต “อย่างเป็นทางการ” ของเหตุการณ์ครั้งนี้ก็มีการบันทึกชื่อคนไว้แค่ 35 คน (รวมคนขาวแล้ว 10 คน) อีกด้วย

ดังนั้น มันคงจะไม่ใใช่เรื่องเกินจริงเลยที่จะบอกว่าจลาจลที่เมืองทัลซานั้น ถือเป็นเหตุการณ์ที่ถูกลืมไปจากประวัติศาสตร์จริงๆ และมันก็ต้องใช้เวลายาวนานเกือบศตวรรษเลยทีเดียว กว่าที่เหตุการณ์ครั้งนี้ จะถูกรวมอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของรัฐ

 

 

ที่มา history และ tulsahistory


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น