CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิจัยชี้ อาการของเหยื่อที่ถูกแวมไพร์จู่โจม อาจมีแรงบันดาลใจมาจากโรค “ลูคีเมีย”

ภายในนิยายชื่อดังของ บราม สโตกเกอร์ อย่าง “Dracula” เหยื่อที่ถูกแวมไพร์จู่โจมจะไม่ได้แค่ตัวซีดเพราะขาดเลือด ก่อนจะค่อยๆ อ่อนแรงลงจนตายเท่านั้น แต่พวกเขายังมีอาการป่วยอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งในตัวนิยายบอกว่าเป็นคำใบ้เกี่ยวกับการถูกดูดเลือดไป

 

 

อาการของเหยื่อที่ถูกดูดเลือดไป หากมองเผินๆ อาจจะดูเป็นแค่เรื่องที่แต่งขึ้นมาจากจินตนาการของคนเขียนเท่านั้น แต่ก็เช่นเดียวกับนิยายส่วนใหญ่ในโลกที่ต้องมีการเก็บข้อมูลก่อนเขียน ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่อาการของเหยื่อจากเรื่องแดรกคูลาเองก็อาจจะมีต้นฉบับมาจากอาการป่วยบนโลกจริงๆ ก็เป็นได้

นั่นเพราะ เมื่อล่าสุดนี้เองทีมนักวิจัยจากประเทศเดนมาร์กได้ทำการทดลองศึกษาอาการของเหยื่อที่ถูกแวมไพร์ดูดเลือดในนวนิยายแนวผีดูดเลือด 3 เรื่องจากช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งประกอบไปด้วย “Dracula” (1897) “Carmilla” (1879) และ “The Vampyre” (1819) ก่อนที่จะพบว่า

 

 

อาการของเหยื่อที่ถูกแวมไพร์ดูดเลือดในนวนิยายแนวผีดูดนั้น มีลักษณะที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคมะเร็งในโลหิต หรือ “ลูคีเมีย” เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเหยื่อที่ปรากฏตัวในนิยายเรื่อง Dracula

อ้างอิงจากงานวิจัย ในนวยายเรื่อง The Vampyre ผู้เขียนไม่ได้มีการอธิบายอาการของเหยื่อที่ถูกดูดเลือดเอาไว้ชัดเจนเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตามในนิยายอย่าง Carmilla และ Dracula ผู้เขียนได้มีการระบุไว้ว่าเหยื่อของแวมไพร์จะมีอาการ วิงเวียน ตัวซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หายใจลำบาก และน้ำหนักลด

 

 

อาการทั้งหมดนี้เป็นอะไรที่ถูกพบได้ในผู้ป่วยวัณโรค แต่ด้วยความที่อาการนี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในช่วงศตวรรษที่ 19 ดังนั้นมันจึงเป็นอะไรที่แปลกมากที่แพทย์ในนิยายนั้นไม่มีใครเลยที่วินิจฉัยว่าคนไข้มีอาการของวัณโรค

แน่นอนว่าความจริงในจุดนี้อาจจะเป็นเพียงแค่การมองข้ามข้อมูลสำคัญๆ ของคนเขียนเท่านั้น แต่ทีมวิจัยกลับมองว่ามันจะมีความเป็นไปได้มากกว่า ที่ในตอนเก็บข้อมูลคนเขียนจะได้แรงบันดาลใจมาจากผู้ป่วยโรคอื่น

 

 

อาการที่ว่านี้มีที่เป็นไปได้อยู่สองอย่างคือโรคโลหิตจาง และลูคีเมีย ซึ่งในเวลาต่อมาถูกตัดเหลือเพียงลูคีเมีย เนื่องจากในนิยายเรื่อง Dracula เองมีตัวละครผู้ออกมาเองเลยว่าผู้ป่วยนั้น “ไร้ซึ่งโลหิต แต่ไม่ได้เป็นเพราะโลหิตจาง”

ผลการตัดตัวเลือกนี้นำมาซึ่งบทสรุปที่นักวิจัยระบุไว้ว่า “ไม่มีโรคอื่นใดอีกแล้ว ที่มีลักษณะตรงกับเหยื่อในเรื่องเท่ากับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemia)” 

 

 

นี่ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและสมเหตุสมผลมากกว่าที่เราคิดมาก เพราะนอกจากอาการของเหยื่อในนิยายจะตรงกับผู้ป่วยลูคีเมียมากๆ แล้ว ลูคีเมียยังเป็นความเจ็บป่วยที่ในศตวรรษที่ 19 ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอีกด้วย

ดังนั้น มันคงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในตอนที่หาข้อมูลงานเขียน เหล่านักเขียนนิยายจะไปพบกับข้อมูลของผู้ป่วยลูคีเมียที่ยังคงเป็นโรคลึกลับในเวลานั้นเข้า และได้แรงบันดาลใจในการเขียนอาการของเหยื่อผีดูดเลือดขึ้น

 

ที่มา livescience และ ncbi


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น