ตามหลักของการก่อกำแพงอิฐทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่แทบจะทั่วทุกมุมโลกเลือกที่จะก่ออิฐเป็นกำแพงแนวตรง กลับกันแล้วภายในมณฑลซัฟโฟล์ค ประเทศอังกฤษ นิยมก่อกำแพงอิฐเป็นแนวคลื่นโค้งมากกว่า…
สำหรับกำแพงคลื่นโค้งเว้าแบบนี้ มีหลากหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น crinkle crankle walls, crinkum crankum walls, serpentine walls หรือ ribbon walls ตามแต่จะเรียก
ทั้งนี้รูปแบบการก่อกำแพงอิฐโค้งดังกล่าวใช้จำนวนก้อนอิฐบางน้อยกว่าแบบแนวตรง เนื่องจากกำแพงแนวตรงต้องก่ออิฐด้วยจำนวนชั้นที่มากกว่า
กำแพงบางส่วน ถ้าทำแนวตรงต้องใช้อิฐหนา 2-3 ชั้น แต่การก่อแนวโค้ง จะทำให้ใช้อิฐแค่ชั้นเดียวเท่านั้น
แต่ด้วยลักษณะโค้งจึงทำให้การก่ออิฐเช่นนี้ทำให้บางลงได้ ช่วยลดจำนวนการใช้ก้อนอิฐ ซึ่งถ้าหากเป็นกำแพงแนวตรงแล้วอาจจะทำให้กำแพงโค่นพังลงมาได้อย่างง่ายดาย
.
เหตุที่ทำให้กำแพงคลื่นแบบนี้สามารถทนทานต่อแรงต่างๆ ได้ เป็นเพราะด้วยหลักการออกแบบแนวโค้งและนูนเช่นนี้จะเป็นฐานรองรับแรงแนวขวางได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับหลักการออกแบบสะพานโค้งต่างๆ นั่นเอง
.
.
.
.
ตัวกำแพงเช่นนี้ได้รับความนิยมมากๆ ในมณฑลซัฟโฟล์ค ถือว่าเป็นแหล่งบ้านเกิดของกำแพงประเภทนี้เลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีการก่อสร้างกำแพงโค้งเป็นจำนวนมากกว่า 100 แห่งภายในมณฑลเดียว
.
.
อีกหนึ่งปัจจัยนอกจากจะใช้จำนวนอิฐที่น้อยกว่าแล้ว การสร้างกำแพงโค้งก็มีเหตุผลในเรื่องของความเหมาะสำหรับปลูกต้นไม้เป็นลักษณะซุ้มต่างๆ และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการป้องกันสวนของชาวบ้านด้วย
.
ที่มา: reddit, wikipedia, twistedsifter, boredpanda
Advertisement
0 Comments