ตามปกติแล้ว เวลามีการค้นพบทางประวัติศาสตร์ การสันนิษฐานเบื้องต้นของนักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญก็มักจะได้รับความน่าเชื่อถือมาก และบ่อยครั้งการสันนิษฐานดังกล่าวก็มักจะถูกต้องเสียด้วย
แต่ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ มันก็มีบางครั้งเหมือนกันที่นักโบราณคดีสันนิษฐานหรือวิเคราะห์สิ่งที่ตัวเองพบผิด แถมยังมั่วสุดๆ แบบผิดไปคนละโลกเลยด้วย
ไม่เชื่อก็ลองไปชมการสันนิษฐานทั้ง 8 ข้อต่อไปนี้ดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่า ต่อให้เป็นนักโบราณคดีที่เก่งมาจากไหน ในบางครั้งมนุษย์เราก็ทำอะไรพลาดได้เหมือนกัน
1. จารึกหินที่ Runamo
นี่คือ นี่เป็นร่องรอยบนหินที่นักโบราณคดี พยายามไขความลับกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 โดยเชื่อว่ามันเป็นภาษาโบราณที่สูญหายไปเมื่อนานมาแล้ว
อย่างไรก็ตามราวๆ ช่วงยุค 1800 เมื่อเทคโนโลยีการตรวจสอบหินพัฒนาไป นักโบราณคดีก็ต้องพบความจริงสุดเจ็บปวดที่ว่า เจ้าร่องรอยบนหิน ที่พวกเขาพยายามไขมา 600 ปีนั้น มันก็แค่รอยแตกของหินเท่านั้นเอง… อ้าว…
2. รูบนกะโหลกมนุษย์นีเอนเดอร์ธัล
ในปี 1921 ได้มีการพบกะโหลกมนุษย์นีเอนเดอร์ธัล ซึ่งมีรูขนาด 8 มม. อยู่ที่ด้านข้างของกะโหลกในขณะที่อีกด้านมีรอยแตกขนาดใหญ่ นักโบราณคดีกลุ่มหนึ่งจึงคิดทฤษฎีว่า อาจมีคนย้อนเวลาไปยิงมนุษย์นีเอนเดอร์ธัลด้วยปืน!?
(หรืออย่างน้อยๆ ก็ไปโดนกระสุนปืนโดยบังเอิญหลังจากที่กลายเป็นซากไปแล้ว)
แน่นอนว่าแนวคิดนี้ผิดไปจากความเป็นจริงสุดๆ เพราะจริงๆ แล้วรูนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ใช่สาเหตุที่เจ้าของร่างตาย แถมตัวกะโหลกเองจริงๆ แล้วก็เป็นของ “โฮมินิด” (ลิงใหญ่) ยุคแรกๆ ไม่ใช่ นีเอนเดอร์ธัลด้วย
3. อนุสรณ์สถานเกรทซิมบับเว
ในเวลาที่มีการค้นพบอนุสรณ์สถานแห่งนี้ มีนักโบราณคดีบางส่วนเชื่อว่าเกรทซิมบับเวสร้างโดยคนจากฝั่งยุโรป (ทั้งๆ ที่มันตั้งอยู่ในตอนใต้ของแอฟริกา) เพราะที่พวกเขาเชื่อว่าคนแอฟริกาไม่น่าจะสร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่แบบนี้ได้
พวกเขาพยายามหาหลักฐานมายืนยันอยู่เป็นเวลานานมาก ถึงขึ้นใช้ทฤษฎีว่ากลิ่นของคานที่เกรทซิมบับเวกลิ่นเหมือนดินสอที่พวกเขาใช้ ดังนั้นมันต้องมาจากยุโรปเลย
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ ในเวลาต่อมาเราก็มีคนที่พิสูจน์ได้ว่าที่แห่งนี้สร้างขึ้นมาโดยอาณาจักรซิมบับเวในสมัยก่อนจริงๆ ทำให้เหล่าโบราณคดีเหยียดชนชาติต้องหน้าแตกกันไป
4. แผนที่ปีรีรีส
นี่เป็นแผนที่จากศตวรรษที่ 16 ที่ทำให้คนเชื่อว่าโคลัมบัสค้นพบแอนตาร์กติกาอยู่ช่วงหนึ่ง เพราะนี่เป็นแผนที่ที่มีการวาดทวีปแอนตาร์กติกาเอาไว้ และว่ากันว่าได้แรงบันดาลใจมาจากแผนที่ของโคลัมบัสเอง
แต่ในความเป็นจริง แผนที่อันนี้นอกจากจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับโคลัมบัสเลยแม้แต่น้อยแล้ว ดูเหมือนว่าพีรี เรอีสผู้เขียนแผนที่ดังกล่าวยังเขียนมันขึ้นมาแบบมั่วๆ โดยฟังมาจากข่าวลือนักเดินเรือด้วย
เรียกได้ว่าแนวคิดที่นักโบราณคดีอุตส่าห์คิดกันมา ได้พังกันไปตามๆ กันเลยทีเดียว
5. เคนซิงตัน รูนสโตน
เรื่องที่ว่าชาวไวกิ้งพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสนั้น เป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ในทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานหลายๆ ชิ้น แต่เคนซิงตัน รูนสโตนกลับไม่ใช่หนึ่งในหลักฐานที่ดีน้ก
นั่นเพราะแม้ในตอนที่มันถูกพบในปี 1898 จารึกอันนี้จะมีการกล่าวถึงเรื่องที่ไวกิ้งไปที่ทวีปอเมริกาไว้อย่างชัดเจนมาก แต่จากการวิเคราะห์อย่างละเอียด ตัวอักษรที่อยู่บนจารึกกลับมีการใช้ไวยากรณ์แบบสวีเดนปัจจุบันเสียอย่างนั้น
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามดูเหมือนว่า ในปัจจุบันนักโบราณคดีหลายคนก็ยังคงเชื่อว่าเคนซิงตัน รูนสโตนอันนี้เป็นของจริงอยู่ แม้ความน่าเชื่อถือของมันจะตกลงมาจากที่เคยเป็นมากแล้วก็ตาม
6. ยูนิคอร์นตัวสุดท้าย
ในช่วงปี 1663 นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ Otto von Guericke ซึ่งเชื่อว่ายูนิคอร์นมีอยู่จริง ได้สร้างโครงกระดูกของยูนิคอร์นขึ้นมาใหม่โดยใช้กระดูกที่เขาพบใกล้เมือง Quedlinburg ของเยอรมนี
แถมผลงานของเขาในเวลานั้น ก็เรียกว่ากลายเป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่มันได้รับการตีพิมพ์ในงานวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ฟอสซิลเลยด้วย
ปัญหาคือจริงๆ แล้วกระดูกที่ Guericke ได้มานั้น ต่อมาถูกตรวจสอบได้ว่า ไม่มีชิ้นไหนเลยที่มาจากยูนิคอร์นจริงๆ กลับกันมันเป็นกระดูกของแมมมอธ และแรดยุคน้ำแข็งต่างหาก
7. มงกุฎทองคำแห่งกษัตริย์ไซตาฟาร์เนส
นี่คือมงกุฎที่ถูกพบในช่วงปี 1896 และเชื่อกันว่าเป็นของ กษัตริย์ไซตาฟาร์เนส ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อราวๆ 2,200-2,300 ปีก่อน โดยมันถูกพบพร้อมเหรียญทองคำโบราณอีกราว 200,000 เหรียญ
อย่างไรก็ตามต่อมานักโบราณคดีชาวเยอรมันชื่อ Adolf Furtwängler กลับพบว่ามงกุฎอันนี้แท้จริงแล้วไม่ได้มีลักษณะลวดลาย หรือร่องรอยใดๆ ที่ของโบราณแท้ควรมีเลย
ซึ่งแม้ตอนแรกจะไม่มีใครเชื่อเขาแต่ 7 ปีต่อมา ช่างทองจากอิสราเอลคนหนึ่งก็ออกมายอมรับว่าว่าตนเองที่เป็นผู้สร้างมงกุฎนี้ขึ้น แถมยังทำมงกุฎอันที่สองที่เหมือนกันสุดๆ ให้ดูเป็นหลักฐานด้วยนะ
8. มนุษย์เนบราสก้า
ย้อนกลับไปในปี 1922 มีการค้นพบฟันซี่หนึ่งในรัฐเนบราสก้า สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ต่อมาไม่นานมันจะถูกระบุว่าเป็นของบรรพบุรุษสายพันธุ์ใหม่ที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างลิงกับมนุษย์ชื่อ “Hesperopithecus”
ข่าวที่ออกมานี้ในเวลานั้นถือว่าดังเอามากๆ เพราะสำหรับคนตะวันตกแล้ว นี่ถือเป็นหลักฐานที่อาจจะบ่งชี้ว่าจริงๆ แล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มาจากทางอเมริกาเหนือ (ตะวันตก) เลยก็ได้
อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาเหล่าผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ต้องหน้าแตกไปตามๆ กัน เพราะจริงๆ แล้วฟันที่พวกเขาพบในปี 1922 นั้นมันเป็นฟันของ “หมูป่าโบราณ” ไม่ใช่มนุษย์หรือแม้แต่ลิงด้วยซ้ำ
ที่มา ranker
Advertisement
0 Comments