เมื่อมองภาพถ่ายจากในสมัยก่อน เชื่อว่าคงมีเพื่อนๆ หลายคนไม่น้อยที่เกิดมีความสงสัยกันว่าทำไมกันคนในภาพเหล่านี้จึงไม่ค่อยจะยิ้มกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะภาพถ่ายในช่วงยุควิกตอเรีย
แน่นอนว่าการที่คนในสมัยนั้นไม่ยิ้มนั้น ยอมไม่ได้หมายความว่าในตอนที่ถ่ายภาพ หรือในยุคนั้นพวกเขาไม่มีความสุขแต่อย่างไร แต่ที่พวกเขาไม่ค่อยยิ้มนั้นมันมีเหตุผลดังนี้
เหตุผลที่ 1 : สำหรับบางคนการถ่ายรูปมันน่ากลัว
นี่เป็นเรื่องที่อาจจะฟังดูแปลกสำหรับหลายๆ คน แต่สำหรับศาสตราจารย์ Christina Kotchemidova ผู้ศึกษาด้านการถ่ายรูปแล้ว เธอพบว่ามีคนจำนวนมากพอสมควรเลยที่จะรู้สึก “กลัวกล้อง” ในการถ่ายภาพครั้งแรก โดยเฉพาะในสตูดิโอใหญ่ๆ
ดังนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่คนในสมัยก่อนเองก็คงจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่กลัวกล้อง โดยเฉพาะในเวลาที่กล้องยังมีขนาดใหญ่โตแล้วด้วย
เหตุผลที่ 2 : ในยุควิกตอเรียคนการที่คนปากเล็กนับว่าเป็นความงาม
ด้วยเหตุผลนี้เอง แทนที่จะพูดว่า “Cheese” เพื่อให้คนยิ้มแบบในปัจจุบัน ตากล้องในสมัยก่อนจะให้คนในภาพพูดว่า “Prunes” เพื่อให้ปากดูเล็กออกมาดูเป็นผู้ใหญ่และมีเสน่ห์
เหตุผลที่ 3 : ผู้คนเลี่ยงที่จะโชว์ฟันของตัวเองกัน
ด้วยความที่ในศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่สุขภาพช่องปากของคนนั้นค่อนข้างที่จะแย่ ทำให้หลายๆ คนต้องพบกับอาการฟันผุ ฟันเน่า หรือแม้แต่ฟันหลอไปเลย ดังนั้นเพื่อให้ภาพดูงาม พวกเขาจึงเลือกที่จะหุบปากในการถ่ายรูปมากกว่า
เหตุผลที่ 4 : การยิ้มกว้างในยุคนั้นมักถูกมองว่ามีความเกี่ยวข้องกับอาการทางจิต
หนึ่งในอาการที่คนคิดว่าเกี่ยวข้องกับอาการทางจิตในสมัยนั้น คือการยิ้มกว้างหรือหัวเราะอย่างบ้าคลั่ง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในยุคนั้นจะหลีกเลี่ยงการทำให้ตัวเองดูไม่ดีด้วยการยิ้มกว้างแบบในปัจจุบัน
เหตุผลที่ 5 : การถ่ายรูปในสมัยนั้นนับเป็นเรื่องจริงจังมาก
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะการถ่ายรูปในเวลานั้นนับเป็นบริการที่ค่อนข้างแพงมาก จนสำหรับหลายๆ คนแล้ว ทั้งชีวิตพวกเขาอาจจะได้ถ่ายรูปแค่ครั้งเดียว (แถมครั้งเดียวที่ว่าสำหรับบางคนยังเป็นหลังความตายเสียด้วย) ดังนั้นพวกเขาจึงจริงจังกับรูปมาก และไม่ค่อยจะยิ้มอย่างในปัจจุบัน
เหตุผลที่ 6 : การยิ้มนานๆ มันเหนื่อย
ต่างไปจากในปัจจุบัน การถ่ายภาพในสมัยก่อนนั้นผู้เข้าถ่ายภาพจำเป็นที่จะต้องอยู่นิ่งๆ ถึง 15 นาที หากไม่ต้องการให้ภาพออกมาเบลอ และการยิ้มนานๆ นั้นเหนื่อยกว่าที่คิด ดังนั้นแล้วคนในเวลานั้นจึงเลือกที่จะทำสีหน้าปกติเสียมากกว่า
เหตุผลที่ 7 : ภาพถ่ายในสมัยนั้นมักจะทำกันโดยในเวลาเศร้า
อย่างที่กล่าวไปในข้อ 5 หลายๆ ครั้งภาพถ่ายในสมัยก่อนจะถูกถ่ายหลังจากที่คนตายไปแล้ว (เรียกกันว่า Mortem Photography) ดังนั้นคนที่ถ่ายภาพคู่กับศพจึงมักจะกำลังตกอยู่ในความเศร้า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่พวกเขาจะไม่ยิ้มนั่นเอง
ที่มา ranker
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น