CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ผลการศึกษาเผย คนบางประเภท จะต้องนอนเยอะกว่าคนอื่นๆ เป็นผลจากพันธุกรรม

เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยประสบกับปัญหาแบบว่า นอนวันละ 7-9 ชั่วโมงแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่านอนไม่พอ ง่วงตลอดเวลา รวมไปถึงบางคนอาจจะรู้สึกเพลียและง่วง ทั้งๆ ที่คิดว่าตัวเองพักผ่อนมามากพอแล้ว

งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Massachusetts คณะแพทยศาสตร์ พบว่ามนุษย์บางคนมียีนเฉพาะ ที่ทำให้ร่างกายต้องการการนอนหลับพักผ่อนมากกว่าคนปกติทั่วไป

 

 

ดอกเตอร์ Hassan Dashti หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า “การงีบหลับ เป็นหนึ่งในหนทางที่หลายๆ คนใช้ในการพักผ่อน แต่ก็เป็นข้อถกเถียงกันมาในแวดวงวิชาการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วว่าทำไมเราถึงต้องงีบ แล้วการงีบมันจำเป็นหรือไม่? และมีข้อดีอย่างไร? รวมไปถึงทำไมบางคนถึงต้องงีบ และบางคนถึงไม่งีบก็อยู่ได้”

ด้วยสมมติฐานดังกล่าว ทีมวิจัยก็เลยทำการศึกษาจากเหล่าอาสาสมัครกว่า 452,633 คน โดยเป็นการให้ตอบแบบสอบถามถึงพฤติกรรมในการงีบระหว่างวัน

เป็นการให้เลือกคำตอบ 3 แบบ คือ ไม่เคยเลย หรือนานๆ ครั้ง, ทำบ้างเป็นบางครั้ง, และบ่อย ถึงบ่อยมาก

นอกจากนี้ยังมีการใส่เครื่องตรวจจับการทำกิจวัตรประจำวัน หรือเครื่องวัดแบบพิเศษ เพื่อเอาไว้บันทึกพฤติกรรมการงีบของอาสาสมัครอย่างแม่นยำ

 

 

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนักวิทยาศาสตร์ก็นำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ต่างๆ และมีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือพวกเขายืนยันได้ว่า ความหลากหลายของ “พันธุกรรม” มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการงีบของมนุษย์

 

 

ทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์จีโนมของมนุษย์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันกับพฤติกรรมการนอนหลับ

จากเดิมที่คิดว่าพฤติกรรมการงีบของมนุษย์ เกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับพักผ่อน อาจจะถูกรบกวนตอนกลางดึก นอนไม่ค่อยหลับ หรือตื่นเช้าจนเกินไป

กลายเป็นว่า จริงๆ แล้วร่างกายของพวกเขา ลึกลงไปถึงระดับพันธุกรรมแค่ต้องการการนอนหลับมากกว่าคนปกติ ก็เท่านั้นเอง

“การวิจัยนี้ตอบคำถามเราได้ว่า การงีบหลับนั้น ไม่ได้เกิดจากสภาพแวดล้อม หรือเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์เลือกอยากจะทำเอง แต่ร่างกายของพวกเขาบังคับให้ต้องทำมันต่างหาก” ดอกเตอร์ Dashti กล่าว

 

แล้วคุณล่ะ เป็นคนที่ง่วงบ่อยๆ และต้องการการงีบหลับเป็นประจำมั้ย? จริงๆ แล้วร่างกายของคุณอาจจะเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ก็ได้นะ ^^

 

เรียบเรียงโดย #เหมียวหง่าว

ที่มา : nature, tyla


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น