ย้อนกลับไปในช่วงปี 2011 ในทุ่งหนาวเย็นของแถบไซบีเรีย ทีมนักวิทยาศาสตร์ของรัสเซียได้ทำการค้นพบมัมมี่ซากลูกสุนัขหรือไม่ก็หมาป่า (ยังไม่ได้รับการยืนยัน) อายุ 14,000 ปีตัวหนึ่ง
ภายในตัวของมันมีเนื้อเยื่อของสัตว์ที่คาดว่าเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของสุนัขตัวนี้อยู่ โดยเนื้อดังกล่าวมีขนสีทองหนา และเป็นที่ฉงนใจของนักวิทยาศาสตร์เรื่อยมาว่ามันเป็นของตัวอะไรกันแน่
ด้วยความที่ชิ้นเนื้อชิ้นนี้มีอายุค่อนข้างมากการทดสอบดีเอ็นเอของมันจึงเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก
อย่างไรก็ตามเมื่อล่าสุดนี้เอง หลังจากความพยายามอย่างยาวนานในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถบอกได้แล้วว่าตกลง สัตว์ที่เจ้าสุนัขกินเข้าไปได้ในที่สุด
อ้างอิงจากทีมนักวิทยาศาสตร์ ในตอนแรกพวกเขาคิดว่าสัตว์ที่เป็นเจ้าของชิ้นเนื้อนี้น่าจะเป็นสัตว์ในตระกูลสิงโต
อย่างไรก็ตามเมื่อชิ้นเนื้อดังกล่าวถูกนำไปตรวจสอบที่สวีเดนพวกเขากลับพบว่า DNA บนชิ้นเนื้อนั้นมีความใกล้เคียงกับ แรดขนยาว (woolly rhino) สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์แล้วแทน
นี่นับเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ไม่ใช่แค่เพราะตามปกติเราจะไม่ค่อยมีโอกาสค้นพบซากสัตว์ในกระเพาะของซากสัตว์โบราณอีกทีเท่านั้น
แต่จากข้อมูลที่เรามี แรดขนยาวนั้น ตามปกติแล้วยังตัวใหญ่มากด้วยความสูงถึง 1.8 และหนักกว่า 3 ตัน ซึ่งทำให้มันไม่ใช่สัตว์ที่ลูกสุนัขน่าจะล่าได้ด้วยตัวเองเลย
อ้างอิงจากทีมวิจัย จากการที่ชิ้นเนื้อของแรดขนยาวยังไม่ย่อย มันก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่เจ้าสุนัขจะกินเนื้อชิ้นนี้เข้าไปก่อนตายไม่นาน
“เราไม่รู้ว่าด้วยซ้ำว่ามันเป็นหมาป่าหรือเปล่า แต่ถ้ามันเป็นลูกหมาป่าจริงๆ บางทีมันอาจจะเจอแรดตัวน้อยที่ตายไปแล้วก็เป็นได้” คุณ Love Dalen ผู้เชี่ยวชาญด้านวิวัฒนาการพันธุศาสตร์กล่าว
นับว่าน่าเสียดายมากที่ด้วยหลักฐานในปัจจุบัน เราไม่อาจทราบได้เลยว่าเจ้าสุนัขตกลงแล้วไปกินแรดได้อย่างไร มันได้รับเนื้อชิ้นนี้มาอย่างที่คุณ Dalen สันนิษฐานหรือไม่
เรียกได้ว่าแม้พลังของการตรวจสอบ DNA จะทำให้เราไขปริศนาได้ว่าสุนัขตัวนี้กินอะไรเข้าไปก่อนตายก็ตาม แต่มันก็นำมาซึ่งคำถามอีกมากมายที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องถกเถียงกันไปอีกหลายสิบปีเลย
ที่มา allthatsinteresting, cnn และ khaosod
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น