มีการเปิดเผยจากสื่อต่างๆ มากมายที่เอ่ยถึงวัฒนธรรมการทำงานของชาวญี่ปุ่น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือธรรมเนียมของการทำงานล่วงเวลาแต่ไม่ได้ค่าจ้างเพิ่ม ลาป่วยด้วยวันลาพักร้อน หรือแม้แต่จะกลับบ้านได้ก็หลังจากที่เจ้านายกลับไปแล้วเท่านั้น
นั่นจึงเริ่มมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบริษัทญี่ปุ่นหรือที่เรียกกันว่า ‘ทำงานให้ฉลาดไม่ใช่ทำงานให้หนัก’
ซึ่งจะสังเกตได้จากตึกสูงของสำนักงานต่างๆ ในญี่ปุ่นที่ยังคงมีแสงไฟอยู่ในตึก แม้จะเลยเวลาทำงานตามปกติไปแล้วก็ตาม
これ今の渋谷なんだけど、
衝撃の写真。左側: Cyber Agent & Mixi
右側: Google働き方改革は、効率改革。リモートワークの実態が激しすぎるな。。。 pic.twitter.com/oET7YbhDZ3
— 新井勇作 📷 Yusaku Arai (@arai_yusaku) October 15, 2020
ช่างภาพ ยูซะคุ อะราอิ ได้เห็นภาพนี้กับตาตัวเองขณะที่เขาออกมาเดินเล่นในย่านชิบูย่าประมาณ 18.00 น. และสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกทึ่ง
นั่นก็คือภาพของตึกสำนักงานบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น กับตึกสำนักงานของบริษัทชาติตะวันตกที่ตั้งอยู่ข้างกัน
ตึกด้านซ้ายคือตึกสร้างใหม่ Shibuya Scramble Square 47 ชั้น เป็นตึกที่ทำการของบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำหลายบริษัท ส่วนตึกด้านขวาคือ Shibuya Stream เป็นตึกที่ทำการของบริษัท Google ในประเทศญี่ปุ่น
ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ตึก Shibuya Scramble Square ยังคงมีแสงไฟส่องสว่างแทบทุกชั้น ในขณะที่สำนักงานใหญ่ Google ประจำประเทศญี่ปุ่น ที่ส่วนใหญ่จะเป็นชั้น 35 เป็นต้นไป แทบไม่มีไฟเปิดในตึกเลย
折角なので中から見てみた。
割とマヂで誰もいないんだな。凄いなGoogle!
あくせく働いててごめん! pic.twitter.com/IJCwklWddV— 新井勇作 📷 Yusaku Arai (@arai_yusaku) October 15, 2020
เหตุผลที่ทำให้ตึกของ Google ในญี่ปุ่นมืดแบบนั้นเป็นเพราะด้วยนโยบายอนุญาตให้พนักงานติดต่อประสานงานผ่านการสื่อสารช่องทางอื่นได้จนถึงเดือนมิถุนายน 2021
ในขณะที่การติดต่องานผ่านการสื่อสารเช่นนี้ไม่ถูกนำมาใช้มากนักในประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าทางผู้ว่าการรัฐประจำโตเกียวจะส่งเสริมให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ในช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม
อีกหนึ่งสาเหตุหลักๆ ที่วิธีการทำงานจากที่บ้านหรือการทำงานด้วยการสื่อสารช่องทางอื่นๆ ไม่นิยมในญี่ปุ่น เป็นเพราะวัฒนธรรมการประชุมที่เน้นเจอหน้ากันเป็นหลัก
อีกทั้งยังเป็นการยากที่จะไว้ใจในการทำงาน (ไม่มีความเป็นมืออาชีพ) จะรู้ได้อย่างไรว่าทำงานอยู่จริง จริงจังแค่ไหน เมื่อเห็นหน้ากันแค่วิดีโอคอล
นอกจากนั้นก็ยังมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการทำงานที่ต้องมาออฟฟิศตลอด เพื่อ ‘เซ็น’ เอกสารสำคัญต่างๆ และลงรอยตราประทับนั่นเอง
เรียบเรียงโดย #เหมียวเลเซอร์
ที่มา: esuteru, @arai_yusaku
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น